วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาภัยแล้ง

 


ปัญหาภัยแล้งและการป้องกันแก้ไข

น้ำเป็นทรัพยากรของแผ่นดินที่มนุษย์นำมาใช้โดยเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ ผลประโยชน์ที่ได้รับจาก
การที่จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้นด้วย ประกอบกับมีการทำลายความสมดุลของธรรมชาติอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยติดตามมา อย่างรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งในแต่ละครั้งได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิต 
ทรัพย์สินและเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นพวกเราทุกคนจึงต้องตระหนักถึงภัย พิบัติดังกล่า
และร่วมมือกันป้องกันแก้ไข ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เราอาจเคยได้ยิน คำพูดที่กล่าวล้อเล่นกันว่า "ประเทศไทยมี 
สองฤดู คือฤดูร้อนกับฤดูร้อนมาก" เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในคำกล่าวนี้ ก็จะพบว่าไม่ใช่เป็นเรื่องล้อเล่นแต่
อย่างใด ในแต่ละปีเราประสบกับปัญหาภัยแล้งแทบ  ทุกภูมิภาคซึ่งสาเหตุสำคัญสืบเนื่องมาจาก
1) ปริมาณฝนตกน้อยเกินไป เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการกระจาย น้ำฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ซึ่งกรณีหลังจะทำให้การขาดแคลนน้ำเป็นบางช่วงหรือบางn ฤดูกาลเท่านั้น แต่ถ้าหากฝนตกน้อยกว่าอัตรการระเหยของน้ำก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดสภาพการ  ขาดแคลนน้ำที่ต่อเนื่องกันอย่างถาวร
2) ขาดการวางแผนในการใช้น้ำที่ดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้ำรองรับน้ำฝน  
ที่ตกเพื่อนำไปใช้ในช่วงขาดแคลนน้ำ
3) ลักษณะภูมิประเทศไม่อำนวย จึงทำให้บริเวณนั้นไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่และ ถาวร หรืออยู่ใกล้ภูมิประเทศลาดเอียงและดินไม่อุ้มน้ำ จึงทำให้การกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำได้ยาก เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทย
4) พืชพันธุ์ธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ ปี พ.ศ.2531 พบว่า มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่เพียง 28% ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 90 ล้านไร่ และจากรายงานประมวลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ระบุว่าในปี พ.ศ. 2528 มีพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเหลือเพียง 9 ล้านไร่เท่านั้น กรมป่าไม้ได้
ดำเนินการทำลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร แต่อัตราการปลูกยังน้อยกว่าอัตราการทำลายมาก
คือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2528 รวมเวลา 24 ปี กรมป่าไม้ได้ปลูกป่าเป็นพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 3 ล้านไร่ 
แต่อัตราการทำลายป่า เฉลี่ยในหนึ่งปีก็เท่ากับ 3 ล้านไร่เช่นเดียวกัน
5.) การเกิดมลพิษของน้ำ ทำให้ไม่สามารถน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ซึ่งกรณีนี้จะพบอยู่ ทั่วไปในพื้นที่เขตเมือง
และย่านอุตสาหกรรมหนาแน่น
ผลการขาดแคลนน้ำ
1.สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมและเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากขาดน้ำที่มีคุณภาพ มาใช้ในการบริโภค อุปโภค
2.ในบางพื้นที่ เช่น ในชนบทภาคอีสานหลาย ๆ พื้นที่ประชาชนต้องเสียเวลาและ ค่าใช้จ่ายไปกับการจัดหาน้ำเพื่อการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง
3.สร้างความเสียหายในด้านเศรษฐกิจเพราะกระบวนการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมซึ่งต้องว่าด้วยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญไม่สามารถดำเนินการประกอบการผลิตอย่างเต็มที่หรือผลผลิตที่ได้น้อยลง เช่น ความเสียหายที่เห็นได้ชัด คือผลผลิตทางภาค เกษตรกรรมโดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น
4. น้ำในแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ ลดน้อยลงหรือแห้งขอด ประชาชนไม่สามารถใช้น้ำ เพื่อการบริโภคอุปโภค หรือการคมนาคมขนส่งได้อย่างเต็มที่ และสัตว์น้ำบางชนิดต้องตาย  อันเนื่องมาจากขาดน้ำ หรือน้ำเกิดการเน่าเสีย

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือปัญหาภัยแล้ง
การป้องกันและแก้ไขมีหลายแนวทาง ได้แก่
1. จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อ รวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง การกักเก็บน้ำไว้ใช้ส่วน ตัวควรจัดหาโอ่งน้ำ หรือภาชนะเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนการวางแผนเก็บกักน้ำสำหรับส่วนรวม ควรจัดสร้างอ่างเก็บน้ำหรือสระน้ำขนาดใหญ่ เพื่อ เก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียง พอสำหรับการใช้ของชุมชน
2. การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลมาใช้นอกจากเพื่อบริโภคอุปโภคแล้ว ยังใช้เพื่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วย
3. การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่าน กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น น้ำที่นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น
4. การแปรสภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในเขตภูมิอากาศ แห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น ถึงแม้ว่าการผลิตน้ำจืดจากน้ำเค็มจะต้อง ลงทุนสูงกว่าการทำน้ำจืดให้บริสุทธิ์ถึง 4 เท่า แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพียงบรรเทาความเดือดร้อนในการ ขาดแคลนน้ำในบริเวณนั้น และมีแนวโน้มว่าต้องใช้น้ำเค็มเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำจืดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำจืด
5. การทำฝนเทียม มีวิธีการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน้ำจืด ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนและพื้นที่สำคัญในการเพาะปลูก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น