ปัญหาอาชญากรรม
ความเป็นมาของอาชญากรรม
อาชญากรรม
เป็นสิ่งที่สังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นการกระทำผิดที่มีอันตรายมีความรุนแรง
และเป็นการกระทำที่ควรจะจัดการให้สาสม ซึ่งผู้กระทำผิดควรต้องได้รับผลตอบแทนจากสังคมโดยรวม
ทุกคนจะเดือดร้อนต่างต้องการให้ขจัดคนร้ายด้วยวิธีการใดก็ตามออกไปจากสังคม
ดังนั้นการกระทำความผิดจึงเป็นการแยกคนออกเป็นสองกลุ่ม
คือ คนดี และคนชั่ว
การที่คนรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ชุมชน
สังคม เมื่อวันเวลาผ่านไปสังคมย่อมมีการขยาย
จำนวนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เกิดการขัดแย้ง
เบียดเบียน รังแก เอาเปรียบ วิวาท และทำร้ายกันทั้งร่างกายและจิตใจ
โดยมีรูปแบบต่างๆ หลากหลาย
ความสลับซับซ้อนในวิธีการและกลุ่มคนกระทำผิดมีจำนวนเพิ่มขึ้น
ความรุนแรงก็มีมากขึ้นด้วย ลองพิจารณากันดูว่าเมื่อเรากล่าวถึง
“อาชญากรรม” เราหมายถึงอะไร
1.2 ความหมายของอาชญากรรม
อาชญากรรม คือ
การกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งเป็นปัญหาของสังคมอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โดยการกระทำผิดทางอาญานั้น ได้กระทำขึ้นโดย “อาชญากร” เช่น คดีฆ่าผู้อื่น ทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา ลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ ชิงทรัพย์ และปล้นทรัพย์ เป็นต้น
1.3 อาชญากรรมกับสังคม
๑. อาชญากรรมเป็นสิ่งที่มีคู่กันกับสังคมทุกสังคม เป็นปัญหาสังคมที่สำคัญคุกคามความสงบสุขของประชาชนและเป็นภัยต่อสังคม
ทำลายชีวิตและทรัพย์สิน แสดงถึงความไม่สมบูรณ์และความบกพร่องของระเบียบสังคม
๒.
การศึกษาอาชญากรรมในแวดวงสังคมวิทยาจะเป็นการศึกษาถึง พฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบุคคลต่อสังคม
วิเคราะห์หาสาเหตุแห่งความขัดแย้ง
๓.
ในอดีตปัญหาอาชญากรรมยังไม่เกิดมีมากนัก เนื่องจากว่าสังคมแบบเดิมเป็นสังคมที่มีจารีตประเพณี
กำหนดไว้แน่นอน ทุกคนจะต้องปฏิบัติตามแบบแผนการดำเนินชีวิตวัฒนธรรมและสังคมของตนอย่างเคร่งครัด
ผู้ใดฝ่าฝืนจะเป็นที่รังเกียจของสังคม
๔. พฤติกรรมของคนเราจะแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม
แต่จะมีความคิดเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับการกระทำบางอย่างที่เห็นว่า ดีและสมควรให้ปฏิบัติ
ถ้าใครไม่ปฏิบัติตามก็ไม่เสียหาย ในสังคมที่เจริญก้าวหน้ามติต่าง ๆ เกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่ต้องการให้สมาชิกของสังคมปฏิบัติจะออกมาในรูปบทบัญญัติทางกฎหมาย
ผู้ใดฝ่าฝืนทำให้สังคมปราศจากความปกติสุขกระทบกระเทือนสวัสดิภาพและสิทธิของผู้อื่น
ผู้นั้นก็จะต้องได้รับโทษ
1.4 ทฤษฎีทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับสาเหตุแห่งอาชญากรรม
นักสังคมวิทยามีความเห็นว่าผู้ที่ประกอบการกระทำผิดนั้นเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมผลักดันให้ประกอบการกระทำผิด
บางคนไม่อาจปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ปัจจัยที่ส่งเสริมการกระทำผิด นักสังคมวิทยาให้ทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของสังคมและสถาบันสังคม
รวมทั้งทฤษฎีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลต่อสิ่งแวดล้อม
ทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างของสังคมและสถาบันสังคม
1.
ทฤษฎีสภาพไร้กฎหมาย (Anomie theory) ได้แก่ การที่บุคคลในสังคม ยึดวิธีกระทำผิดกฎหมายเพื่อบรรลุจุดประสงค์หรือเป้าหมายของตน
เช่นค่านิยมในสังคมกำหนดว่า บุคคลที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตจะต้องถึงพร้อมด้วย
ความมั่งคั่ง ร่ำรวย เกียรติยศ อำนาจ และปริญญาบัตร
บางคนหันไปค้ายาเสพติดเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายของตน บางคนค้าของหนีภาษี บางคนปลอมใบปริญญาบัตร
หรือทุจริตในการสอบด้วยการนำโน้ตย่อมาคัดลอก ในขณะที่คนอื่นๆ ตั้งใจดูหนังสืออย่างไม่พักผ่อนนอนหลับ
หรือกล่าวโดยสรุป เมื่อคนเราเกิดมาในสภาพสังคมที่ยากจน
ขาดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายแห่งความมีหน้ามีตาและความเท่าเทียมกับเพื่อนฝูงในวงสังคม
จึงหันมาประกอบอาชญากรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือความหวังหรือจุดประสงค์ของตน
2.
Anomie theory เจ้าของทฤษฎีก็คือ
Durkheim นักสังคมวิทยาผู้มีชื่อเสียงดังทฤษฎีที่กล่าวถึงการไร้กฎเกณฑ์ทางพฤติกรรมและไร้กฎหมาย
ได้แก่การที่ผู้กระทำผิดไม่ยอมรับรู้กฎหมายและไม่ยอมรับกฎเกณฑ์ในการปฏิบัติแบบเดียวกับคนในสังคมนั้น
โดยทั่วไปแล้วคนเราจะมีความต้องการอยู่ 2 ชนิด
คือ ความต้องการทางร่างกาย
ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย น้ำ ยารักษาโรค
การดำรงชีวิตที่ปลอดภัย และความต้องการทางด้านจิตใจ
ได้แก่ความร่ำรวย อำนาจ เกียรติยศ ชื่อเสียง ถ้าไม่สามารถควบคุมจิตใจได้ก็จะเป็นสาเหตุที่ทำให้ประกอบการกระทำผิดได้ง่าย
ทั้งนี้เนื่องจากความรู้สึกนึกคิดของผู้ประกอบการกระทำผิดคิดว่า
สภาพการดำรงชีวิตในขณะนี้ลำบากต้องดิ้นรนต่อสู้แข่งขันกัน
ศีลธรรมกำลังเสื่อมลง การเป็นอยู่ในปัจจุบันที่มองไม่เห็นอนาคต
คนทั่วไปทำอะไรไม่ค่อยคำนึงถึงศีลธรรม รัฐบาลไม่สนใจต่อปัญหาของคนธรรมดาทั่วไป
Merton นักสังคมวิทยาชาวอเมริกันได้ขยายแนวความคิดของ
Durkheim ไปว่าโครงสร้างทางสังคมมีส่วนประกอบอยู่ 2
อย่างคือ จุดหมายปลายทาง
goal หรือความหวังและตัวการหรือกระทำ Mean ที่ทำให้ความหวังนั้นสัมฤทธิ์ผล ในกรณีที่คนเราอยากสร้างความร่ำรวยในระยะสั้น
ทางนี้จะทำให้บรรลุจุดหมายปลายทางแม้จะเป็นการผิดกฎหมายแต่ก็ทำโดนการค้ายาเสพติด
และในที่สุดก็โดนจับ
นักสังคมวิทยาบางคนมีความเห็นว่า
การประกอบอาชญากรรม เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในสังคมที่ตนอยู่
เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น
การขยายตัวจากเมืองเล็กเป็นเมืองใหญ่ การแออัดของประชากร
ทำให้เกิดแหล่งปัญหาเสื่อมโทรมมากขึ้น และผู้ประกอบอาชญากรรมก็มักจะเกิดสาเหตุทางสภาพแวดล้อมผลักดัน
คนในเมืองใหญ่ๆ จะไม่ค่อยมีการติดต่อสัมพันธ์กัน
มีความแออัดยัดเยียด มีช่องว่าระหว่างคนจนกับคนรวยต่างกันมากเมื่อประกอบการกระทำผิดแล้วจะมีผู้ทราบได้ยาก
มีโอกาสหลบหนีได้ง่าย โดยทั่วไปแล้วในเขตที่ใกล้ชิดกับใจกลางเมือง
ใกล้กับที่ทางทำมาหากินเป็นที่อยู่ของผู้มีรายได้น้อย มีลักษณะเป็นสลัม ยากจนซึ่งเป็นบ่อเกิดของอาชญากรรมได้ง่าย
เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ผิดๆ จนอาจจะเห็นเป็นของธรรมดา
เช่น การโจรกรรม พ่อแม่ญาติพี่น้องกระทำ ดังนั้นจึงควรที่จะทำได้ด้วยไม่ใช่สิ่งผิดปกติ
3.
ทฤษฎีตราบาป ( labeling Theory) เมื่อบุคคลประกอบการกระทำผิดครั้งแรก สังคมเป็นผู้ตราบาปว่า
อาชญากร นักโทษ ขี้ยา มือปืนรับจ้าง โสเภณี ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้บุคคลผู้นั้นมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนตลอดไป
หรือ อาชญากรรมเกิดขึ้นเพราะสังคมเป็นผู้ตราบาปซึ่งอาจทำให้เขามีพฤติกรรมเบี่ยงเบนตลอดไป
4.
ทฤษฎีหลายสาเหตุ ในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง
1.
ทฤษฎีของแมนไฮม์ (Mannheim’s theory) เป็นนักอาชญาวิทยาชาวอังกฤษ ได้อธิบายถึงสาเหตุการเกิดอาชญากรรมไว้ดังนี้
ปัจจัยทางกายภาพ (physical factors) และปัจจัยทางสังคม (social factors) ปัจจัยทั้ง
2 อย่างนี้ กระตุ้นจิตใจ
หรือก่อให้เกิดแรงจูงใจ ทำให้เกิดการประกอบอาชญากรรม
ทฤษฎีนี้เน้น ความสำคัญของจิตใจ
เช่นวัยรุ่นชายหญิงต้องการเงินเพื่อจะไปเที่ยวดิสโก้เธค
จึงกระทำการจี้ ชิงทรัพย์แท็กซี่
2.
ทฤษฎีของกิบบอนส์ (Gibbons’s theory) ได้อธิบายให้ทราบถึงสาเหตุการประกอบอาชญากรรมไว้ดังนี้
2.1
สาเหตุพื้นฐาน (root causes) ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การขาดความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เช่น
การว่างงาน
2.2
สาเหตุแทรกซ้อน (intervening variables) เป็นต้นว่า เหตุบังเอิญ ประสบการณ์ ความจำเป็น เช่น ติดยาเสพติด
2.3
ปัจจัยหนุน (Precipitating factors) ได้แก่ โอกาส สถานการณ์เอื้ออำนวย
เช่น เกิดอาการลงแดงจากยาเสพติด
อยากได้เงินไปซื้อมาเสพ จึงกระทำการโจรกรรมทรัพย์สิน
3.
ทฤษฎีของเวสตันและเวลส์ (Weston &
Wells’ theory) มีสาระดังนี้
3.1
บางคนประกอบอาชญากรรม เพราะสาเหตุเพียงอย่างเดียว
บางคนกระทำผิดเนื่องจากสาเหตุหลายอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจเป็นสำคัญ
เช่น การบุกเดี่ยวปล้นธนาคาร
ของคุณครูหนุ่มจากชนบท ในกทม.
เพราะต้องการเงินให้คนรักไปทำแท้ง เนื่องจากบิดามารดาได้ไปขอหมั้นสาวไว้ให้และได้กำหนดวันวิวาห์ไว้แล้ว
3.2
ปัจจัยด้านร่างกายและจิตใจ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม
และปัจจัยสถานการณ์ รวมตัวเข้าในระยะหนึ่งจะก่อให้เกิดอาชญากรรมได้
ซึ่งอาจจะเป็นอาชญากรตามโอกาส อาชญากรที่กระทำผิดซ้ำ
อาชญากรที่พัฒนาอีกระดับหนึ่ง
สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีแล้วหางานทำไม่ได้
ถูกล้อว่า เป็นบัณฑิตตกงาน
ไม่มีเงินใช้จ่าย เพื่อนฝูงหนีหน้า
จึงไปรับจ้างขนยาเสพติด
1.5 ประเภทของอาชญากร
ความรุนแรงของการประกอบอาชญากรรมขึ้นอยู่กับการฝืนระเบียบของสังคมของผู้ที่กระทำผิดแยกตนออกมาจากการควบคุมของระเบียบของสังคมมากน้อยแค่ไหน
และความมากน้อยของระเบียบสังคมไม่อาจสนองความต้องการของผู้กระทำความผิด ประเภทของผู้ประกอบอาชญากรรมจำแนกออกเป็น
๙ ประเภทคือ
1. ผู้กระทำผิดโดยผิวเผิน (Causal
offende Criminal) เป็นการกระทำผิดโดยเอาความสบายเป็นที่ตั้ง
โดยปกติแล้วเคารพกฎหมาย เช่นขับรถฝ่าไฟแดงเพราะความเร่งรีบ เป็นต้น
2. อาชญากรผู้กระทำความผิดเป็นครั้งคราว
(Occasional Criminal) กระทำผิดเพราะความประมาทเลินเล่อไม่มีเจตนากระทำเช่นนั้น
และจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก เช่น ขับรถชนคนตายโดยประมาท เป็นต้น
3. อาชญากรผู้กระทำความผิดเพราะถูกกดดันทางจิตใจ
(Episodie Criminal) กระทำผิดเนื่องจากถูกยั่วอารมณ์ หรือถูกกดดันทางจิตใจจนไม่สามารถตั้งสติได้
มักจะกระทำผิดร้ายแรงและจะไม่กระทำผิดซ้ำอีก เช่น ลูกจ้างฆ่านายจ้าง เพราะนายจ้างกดขี่ข่มเหง
เป็นต้น
4. อาชญากรผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการเงิน
อาชญากรผู้ดี หรืออาชญากรคอเชิ๊ตขาว (White Collar Criminal) มักจะมีความผิดเกี่ยวกับการเงิน ประกอบอาชีพงานด้านธุรกิจทำงานเบาๆ สบายๆ
แต่งตัวเรียบร้อยสะอาด เช่น ข้าราชการคอรัปชั่นกันเป็นทีมๆ
ผู้จัดการการเงินโกงเงินบริษัท เป็นต้น
5. อาชญากรที่กระทำเป็นนิสัย (Habitual
Criminal) เป็นการกระทำผิดชองผู้ที่ไม่สามารถทำตัวให้เข้ากับสังคมได้
มักจะติดยาเสพติดและสุราเรื้อรัง กระทำโดยไม่นึกถึงผลที่เกิดขึ้น เช่น
การลักทรัพย์ เป็นต้น
6. อาชญากรอาชีพ (Professional
Criminal) ประกอบอาชีพเป็นอาชญากรและมีวิธีการปฏิบัติงานอย่างแยบยล
ถือว่า งานอาชญากรรมเป็นงานสบาย เช่น ล้วงกระเป๋า ต้มตุ๋นหลอกลวง เป็นต้น
7. องค์การอาชญากร (Organized Criminal)
ทำงานกันเป็น ทีมมีสายงานและแบบแผนปฏิบัติ แบ่งงานเป็นขั้นตอน มีหัวหน้าควบคุมตามลำดับชั้น
เช่น การค้ายาเสพติด คุ้มครองร้านค้าเพื่อหวังทรัพย์สิน เป็นต้น
8. อาชญากรที่จิตผิดปกติ (Mentally
Abnormal Criminal) อันได้แก่
ก. พวกโรคประสาท (Neuroses)
ข. พวกโรคจิตชนิด Psychoses
ค. พวกโรคจิตชนิด Psychopath
หากผู้กระทำผิดเหล่านี้ เจ้าหน้าที่พิสูจน์ได้ว่า
จิตผิดปกติจริง ก็เอาความผิดไม่ได้
9. อาชญากรที่ไม่มีเจตนาชั่วร้าย
(Non-malicious Criminal) กระทำผิดเพราะมีวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมความเชื่อถือแตกต่างกันไปจากค่านิยมของคนส่วนใหญ่
ได้แก่ผู้ที่เคร่งศาสนาถือว่าการฆ่ากันเป็นบาปเมื่อได้รับมอบหมายให้ไปรบก็ไม่ยอมไป
นักโทษการเมือง เป็นต้น
1.6 สาเหตุของปัญหาอาชญากรรม
1.
โดยพื้นฐานแล้วสาเหตุแห่งการประกอบอาชญากรรมของคนในประเทศต่างๆ จะคล้ายคลึงกัน
เกิดจากปัญหาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม และการเพิ่มขึ้นของประชากรเมื่อคนเราหมดที่พึ่ง
ก็หันมาประกอบอาชญากรรม หรือคิดว่า
การค้าขายของผิดกฎหมาย การค้ายาเสพติด
ของหนีภาษี ฯลฯ สามารถสร้างความร่ำรวยได้ในระยะเวลาสั้นจึงประกอบอาชญากรรม
2.
สภาพครอบครัว มักจะมาจากครับครัวที่บ้านแตกสาแหรกขาด
พ่อแม่แยกกันไปคนละทางไม่มีเวลาอบรมดูแลลูก หรือบิดามารดาอยู่ด้วยกันแต่ทะเลาะกันทุกวัน ทำให้เบื่อบ้านและออกไปคบหาสมาคมกับเพื่อน
เมื่อเกิดความขาดแคลนก็มักจะประกอบอาชญากรรม
3.
ฐานะทางเศรษฐกิจ ผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมักจะมาจากคนที่มีฐานะยากจนมีสภาพจิตใจไม่ปกติ
เนื่องจากต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอด
4.
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากเมืองไทยได้รับอิทธิพลของอารยธรรมตะวันตกซึ่งมีบางสิ่งบางอย่างขัดกับวัฒนธรรมสังคมไทย
เป็นต้น การนิยมวัตถุความสัมพันธ์ทางเพศ การแต่งกาย เมื่อมีความต้องการมากๆ
ก็ทำให้ประกอบการกระทำผิดได้
5.
การว่างงาน ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจรัดตัว
ทุกชีวิตต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อตนเองและครอบครัวเมื่อคนเราว่างงาน
สภาพจิตใจและอารมณ์ย่อมสับสนฟุ้งซ่านมักใช้เวลาว่างไปทางด้านอบายมุขต่างๆ
เป็นต้นว่า สุรา นารี เล่นม้า การพนัน
เที่ยวเตร่ เป็นต้น
6.
ความเสื่อโทรมทางศีลธรรมในปัจจุบันความคำนึงถึงศีลธรรมและความอะลุ่มอล่วยกันในสังคม จะไม่ค่อยพบนัก
ทั้งนี้เนื่องจากต่างคนต่างอยากที่จะหาความสุขให้กับชีวิตทุกคนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อการดำรงชีวิต
ความเจริญก้าวหน้าของวัฒนธรรมทางวัตถุที่ไปเร็วกว่าวัฒนธรรมทางจิตใจไม่ค่อยใกล้ชิดกับศาสนา
ขาดการศึกษาและอบรมจิตใจที่ดีทำให้ประกอบอาชญากรรมได้ง่าย
1.7 สภาพของปัญหาอาชญากรรมในสังคมไทย
1.
ในสังคมกรุงเทพฯ เป็นสังคมศูนย์รวมของความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุต่างๆ
อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ประชาชนต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดก็มีการแก่งแย่งกันในการทำมาหากินและการขัดผลประโยชน์ต่างๆ
สังคมในกรุงเทพฯ จะมีปัญหาอาชญากรรมมากกว่าสังคมชนบท
2.
อาชญากรรมในกรุงเทพมักจะเอาแบบอย่างจากสื่อมวลชนต่างๆ เป็นต้นว่า
หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ ทีวี วิธีการประกอบอาชญากรรมไม่สลับซับซ้อนมาก
3.
ในสังคมกรุงเทพฯ มีสถานเริงรมย์ให้การบริการในด้านต่างๆ
และแหล่งอบายมุขต่างๆ เมื่อมีผลประโยชน์ขัดกัน
เป็นต้นว่า การพนัน เล่นโกงกัน ปัญหาทางเพศ ฯลฯ ทำให้ประกอบอาชญากรรมได้ง่าย
4.
ชาวชนบทพากันอพยพเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ มักจะเข้ามาอยู่ในแหล่งสลัมใช้แหล่งสลัมเป็นที่เรียนรู้สภาพชีวิตของคนในเมือง
ทำให้ได้ภาพพจน์ที่ไม่ถูกต้อง เมื่ออพยพมามากๆ
เข้ายังหางานทำไม่ได้ก็ใช้ชีวิตไปทางด้านอบายมุขต่างๆ ลักษณะของอาชญากรในสังคมไทยมักจะมีสถานภาพทางสังคมการศึกษาต่ำ
มีฐานะยากจน
5.
เนื่องจากการคมนาคมสะดวก อาชญากรเมื่อกระทำผิดแล้วมักจะหลบหนีไปทำให้ยากแก่การจับกุมตัวมาลงโทษ
6.
ประเภทของอาชญากรรมที่ทำกันมักจะเป็นไปในรูปการปลอมแปลงสินค้า ปลอมเช็ค
ยารักษาโรค เครื่องสำอาง เนื่องจากการขยายตัวทางการค้าและการอุตสาหกรรม ประชาชนในกรุงเทพฯ เพิ่มมากขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้นทำให้คนเราต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อการดำเนินชีวิต
มีการฉ้อราษฎร์บังหลวง การทุจริตต่อหน้าที่
การขโมยเศียรพระพุทธรูป การทุจริตเกี่ยวกับที่ดิน
(ในปัจจุบันกิจการบ้านจัดสรรเป็นความต้องการของผู้ซื้อที่ต้องการบ้านอยู่อาศัยเป็นอย่างมาก)
ปัญหายาเสพติดให้โทษ คนที่เสพยาเสพติดเนื่องจากอยากลอง
ถูกเพื่อนชักชวน ต้องการหนีความจริง
เมื่อเสพไปแล้วให้โทษแก่ร่างกายสติสัมปชัญญะไม่อยู่กับตัว
ประกอบกับยาเสพติดมีราคาแพงและยากแก่การซื้อหา เมื่อต้องการเสพมากๆ ก็ประกอบการกระทำผิดเพื่อให้ได้มาซึ่งยาเสพติด
สภาพของอาชญากรรมในประเทศต่างๆ จะคล้ายคลึงกัน
บางคนประกอบอาชญากรรมทางเพศ บางคนฉ้อราษฎร์บังหลวง
ปล้นรถไฟ ลักขโมย จี้ปล้นทรัพย์ ค้าของเถื่อน ค้ายาเสพติด ความมากน้อยในบางประเภทของการกระทำผิดขึ้นอยู่กับสถานภาพและแบบแผนการดำเนินชีวิตของสังคมนั้น
ในสังคมที่มีเศรษฐกิจดีแต่ประชากรดิ้นรนต่อสู้แข่งขัน เผชิญกับความจำเจ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ทำให้หันมาเสพยาเสพติด ในที่สุดก็นำไปถึงการประกอบอาชญากรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น