วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาเศรษฐกิจ

1ปัญหาทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการพัฒนาประเทศ
ปัญหาทางเศรษฐกิจในชุมชนและแนวทางแก้ปัญหา
            การพัฒนาประเทศและปัญหาเศรษฐกิจในชุมชน
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม  ช่วยสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้กันประเทศ  ใขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดปัญหาในหลายๆด้าน เช่น



            1.ปัญหาความไม่สมดุลของภาคเศรษฐกิจ
การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบันมีการพึ่งพาต่างประเทศมากขึ้น เช่น ต้องมีการนำเข้าเครื่องจักร  วัตถุดิบและเทคโนโลยี  รวมทั้งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากขึ้น รัฐบาลได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม  พ.ศ. 2503 โดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆแก่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งมีการตั้งคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีภารกิจในการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในกิจการที่เป็นประโยชน์ของประเทศโดยการให้สิทธิในการลงทุน  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคม
            2.ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้
2.1ปัญหาการกระจายรายได้ กลยุทธ์การพัฒนาประเทศที่ให้ความสำคัญกับภาคอุตสาหกรรม  ก่อให้เกดความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้ระหว่างภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมอย่างเห็นได้ชัด  แนวโน้มในปัจจุบันสัดส่วนของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ  ส่วนสัดส่วนของภาคเกษตรกรรมลดลง  แต่การจ้างแรงงานของเกษตรกรรมยังคงสูงเท่าอุตสาหกรรม  อีกทั้งการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร  เขตปริมณฑลและเมืองใหญ่ๆเท่านั้น
2.2 ปัญหาความยากจน  แม้ปัญหาความยากจนมีแนวโน้มดีขึ้นในปัจจุบัน โดยสัดส่วนคนจนลดลง  คนจนส่วนใหญ่อาศัยในชนบทประกอบอาชีพหลักทางการเกษตร  และหัวหน้าครัวเรือนมีการศึกษาชั้นประถมหรือไม่มีการศึกษา  แต่ความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างกลุ่มต่างๆของชั้นรายได้มากขึ้น  นอกเหนือจากความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ระหว่างบุคคลที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว  ความไม่เท่าเทียมของรายได้ที่กระจายระหว่างภูมิภาคก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างปัญหาความยากจน ความยากจนที่เกิดขึ้นในชุมชน เช่น ปัญหาความยากจนที่มีผลสืบเนื่องมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตทางเกษตรกรรมตกต่ำ
3 ปัญหาด้านคุณภาพชีวิต  ถึงแม้ว่าปัจจุบันคนไทยจะมีอายุยืนยาวขึ้นเนื่องจากการพัฒนาทางด้านสาธารสุข  แต่กระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม  รวมทั้งการเป็นสังคมเมืองมากขึ้น  มีผลทำให้วิถีชีวิตของประชากรไทยโดยเฉพาะชุมชนเมือง  เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ปัญหาสุขภาพจิตมีมากขึ้น ปัญหาสารเสพติดทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดปัญหาสังคม
4.ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเท่าที่ผ่านมา ก่อให้เกิดการขยายตัวด้านการผลิตสินค้าและบริการโดยมุ่งเน้นให้ความสำคัญเรื่องความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิ่มรายได้ของประชากรซึ่งมีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัจจัยในการผลิตอย่างฟุ่มเฟือยขาดการวางแผนที่ดี ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติจึงเสื่อมโทรมและลดลงอย่างรวกเร็วตามปริมาณการผลิตสินค้าและบริการที่เพิ่มมากขึ้น
5.ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ.2540
           ในช่วง พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2538 เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเร็วมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือค่าแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาก รวมทั้งค่าของเงินที่มีเสถียรภาพ
    ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย พ.ศ. 2540 มีสาเหตุสำคัญจาก
              1) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสัดส่วนที่สูงมาก ใน พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 บัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงถึง 8% และ7.9% ของมูลค่าผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ตามลำดับ
        2) การพึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากมีการเปิดเสรีทางการเงิน โดยการอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การลงทุนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่มิได้ก่อให้เกิดรายได้หรือก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต เช่น การเก็งกำไรที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เกิดอุปสงค์ในการเก็งกำไร มีการลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตสินค้าสนองตอบอุปสงค์ในการเก็งกำไรให้ได้มากที่สุด
 3) ปํญหาหนี้ด้อยคุณภาพหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non – Performing  Loan : NPLs) ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ระบบสถาบันการเงินไทยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถึง 91 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ ร้อยละ 22 ของทรัพย์สินด้านการเงินและการธนาคารทั้งหมด สถาบันการเงินเหล่านี้ ใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศเป็นแหล่งเงินทุนในการให้สินเชื่อ อีกทั้งเงินกู้และการลงทุนของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ยังนำไปลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงประเภทอื่นๆ เช่น การเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยตกต่ำลงคุณภาพและมูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันการกู้ยืมจึงปรับตัวลงตามไปด้วยสินทรัพย์บางส่วนกลายเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เนื่องจากลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินจำนวนมากขาดกระแสเงินสดเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่อง

  ในช่วง พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2538 เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเร็วมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือค่าแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาก รวมทั้งค่าของเงินที่มีเสถียรภาพ
    ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย พ.ศ. 2540 มีสาเหตุสำคัญจาก
            1) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสัดส่วนที่สูงมาก ใน พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 บัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงถึง 8% และ7.9% ของมูลค่าผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ตามลำดับ
           2) การพึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากมีการเปิดเสรีทางการเงิน โดยการอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การลงทุนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่มิได้ก่อให้เกิดรายได้หรือก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต เช่น การเก็งกำไรที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เกิดอุปสงค์ในการเก็งกำไร มีการลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตสินค้าสนองตอบอุปสงค์ในการเก็งกำไรให้ได้มากที่สุด
 3) ปํญหาหนี้ด้อยคุณภาพหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non – Performing  Loan : NPLs) ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ระบบสถาบันการเงินไทยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถึง 91 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ ร้อยละ 22 ของทรัพย์สินด้านการเงินและการธนาคารทั้งหมด สถาบันการเงินเหล่านี้ ใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศเป็นแหล่งเงินทุนในการให้สินเชื่อ อีกทั้งเงินกู้และการลงทุนของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ยังนำไปลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงประเภทอื่นๆ เช่น การเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยตกต่ำลงคุณภาพและมูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันการกู้ยืมจึงปรับตัวลงตามไปด้วยสินทรัพย์บางส่วนกลายเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เนื่องจากลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินจำนวนมากขาดกระแสเงินสดเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่อง

         ในช่วง พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2538 เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตเร็วมาก ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต คือค่าแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาก รวมทั้งค่าของเงินที่มีเสถียรภาพ
    ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย พ.ศ. 2540 มีสาเหตุสำคัญจาก
             1) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในสัดส่วนที่สูงมาก ใน พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 บัญชีเดินสะพัดขาดดุลสูงถึง 8% และ7.9% ของมูลค่าผลผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ตามลำดับ
         2) การพึ่งพิงเงินกู้จากต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากมีการเปิดเสรีทางการเงิน โดยการอนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ ซึ่งนำไปสู่การลงทุนจำนวนมากในภาคเศรษฐกิจที่มิได้ก่อให้เกิดรายได้หรือก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต เช่น การเก็งกำไรที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ ทำให้เกิดอุปสงค์ในการเก็งกำไร มีการลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อผลิตสินค้าสนองตอบอุปสงค์ในการเก็งกำไรให้ได้มากที่สุด
  3) ปํญหาหนี้ด้อยคุณภาพหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non – Performing  Loan : NPLs) ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปัญหาเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ระบบสถาบันการเงินไทยมีบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถึง 91 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ ร้อยละ 22 ของทรัพย์สินด้านการเงินและการธนาคารทั้งหมด สถาบันการเงินเหล่านี้ ใช้เงินกู้ยืมจากต่างประเทศเป็นแหล่งเงินทุนในการให้สินเชื่อ อีกทั้งเงินกู้และการลงทุนของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ส่วนใหญ่ยังนำไปลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงประเภทอื่นๆ เช่น การเก็งกำไรในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้นเมื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยตกต่ำลงคุณภาพและมูลค่าสินทรัพย์ที่เป็นหลักประกันการกู้ยืมจึงปรับตัวลงตามไปด้วยสินทรัพย์บางส่วนกลายเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพหรือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เนื่องจากลูกหนี้ไม่สามารถชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ย ส่งผลกระทบให้สถาบันการเงินจำนวนมากขาดกระแสเงินสดเพื่อใช้ในการดำเนินงานหรือเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่อง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น