มลพิษทางอากาศ" มลพิษทางอากาศเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นในเขตเมือง
โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร เนื่องจากมลพิษทางอากาศก่อให้เกิดผลกระทบด้านสุขภาพอนามัย
ไม่ว่าจะเป็นด้านกลิ่น ความรำคาญ ตลอดจนผลกระทบต่อสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบหายใจ
และระบบหัวใจและปอด ดังนั้นการติดตามเฝ้าระวังปริมาณมลพิษในบรรยากาศจึงเป็นภารกิจหนึ่งที่มีความสำคัญ
กรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานที่ทำการตรวจวัดคุณภาพอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยทำการตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่สำคัญ
ได้แก่ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน
10 ไมครอน: PM-10) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(SO2) สารตะกั่ว (Pb) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
(CO) ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NOx) และก๊าซโอโซน (O3)
สถานการณ์มลพิษทางอากาศ ผลจากการตรวจวัดคุณภาพอากาศในช่วงเกือบ
20 ปีที่ผ่านมา พบว่า
คุณภาพทางอากาศในประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้น โดยพิจารณาได้จากค่าสูงสุดของความเข้มข้นของสารมลพิษส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
ยกเว้นฝุ่นขนาดเล็ก และก๊าซโอโซน ทั้งนี้การที่คุณภาพอากาศของประเทศไทยมีคุณภาพดีขึ้น
มีสาเหตุมาจากการลดลงของปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ และอีกส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของรัฐที่มีส่วนทำให้มลพิษทางอากาศลดลง
(ธนาคารโลก 2002) ซึ่งได้แก่o
การรณรงค์ให้ใช้รถจักรยานยนต์
4 จังหวะแทนรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ เนื่องจากรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของการปล่อยฝุ่นละอองออกสู่บรรยากาศ
การปรับเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ จึงช่วยให้มีการปล่อยฝุ่นละอองสู่บรรยากาศลดลงo
การติดตั้งอุปกรณ์กำจัดสารซัลเฟอร์
(Desulfurization) ในโรงไฟฟ้าแม่เมาะในปี พ.ศ. 2535
เนื่องจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดสำคัญของปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ดังนั้นการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวทำให้ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศลดลงอย่างต่อเนื่องจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐานตั้งแต่มีการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดสารซัลเฟอร์o
การบังคับใช้อุปกรณ์ขจัดมลพิษในระบบไอเสียรถยนต์ประเภท
Catalytic converter ในรถยนต์ใหม่ในปี พ.ศ. 2536
เนื่องจากยานยนต์เป็นแหล่งกำเนิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่สำคัญ ส่งผลให้ระดับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ลดลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน o
การลดปริมาณสารตะกั่วในน้ำมัน
โดยในปี พ.ศ 2532 รัฐบาลได้มีมาตรการเริ่มลดปริมาณตะกั่วในน้ำมันจาก
0.45 กรัมต่อลิตรให้เหลือ 0.4 กรัมต่อลิตร
และในปี พ.ศ. 2535 ได้ลดลงมาเหลือ 0.15 กรัมต่อลิตร จนกระทั่งปลายปี พ.ศ. 2538 รัฐบาลได้ยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซินที่มีสารตะกั่ว
ทำให้ระดับสารตะกั่วลดลงอย่างรวดเร็วจนอยู่ในระดับที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และก๊าซโอโซน ยังเป็นสารมลพิษที่เป็นปัญหา
ซึ่งถึงแม้จะมีแนวโน้มลดลงเช่นกันแต่มลพิษทั้ง 2 ตัวก็ยังสูงเกินมาตรฐาน
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะฝุ่นละอองมีแหล่งกำเนิดหลากหลาย ทำให้การออกมาตรการเพื่อลดฝุ่นละอองทำได้ยาก
โดยแหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญได้แก่ ยานพาหนะ ฝุ่นละอองแขวนลอยคงค้างในถนน
ฝุ่นจากการก่อสร้าง และอุตสาหกรรม สำหรับในพื้นที่ชนบท
แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองที่สำคัญ คือ การเผาไหม้ในภาคเกษตร ขณะที่ก๊าซโอโซน เป็นสารมลพิษทุติยภูมิที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย
(Volatile organic compound: VOC) และออกไซด์ของไนโตรเจน โดยมีความร้อนและแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
ทำให้ก๊าซโอโซนมีปริมาณสูงสุดในช่วงเที่ยงและบ่าย และถูกกระแสลมพัดพาไปสะสมในบริเวณต่างๆ
ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่ยากต่อการควบคุมการเกิดของก๊าซโอโซน ทำให้มาตรการต่างๆ
ยังไม่สามารถลดปริมาณก๊าซโอโซนลงให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้
มลพิษทางอากาศมีแหล่งกำเนิดมลพิษและผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมแตกต่างและรุนแรงต่างกันไป
ทั้งนี้สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 1
ที่ 1 แหล่งกำเนิดที่สำคัญและผลกระทบของมลพิษทางอากาศ
|
|||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||
ที่มา: ธนาคารโลก 2002.
|
ที่มา: http://www.thaienvimonitor.net/Concept/priority5.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น