ปัญหาสังคมไทย
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาสังคม
ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาสังคม
1.
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม
การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
2.
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้
เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
3.
เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง
ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม
เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น
ทฤษฎีเกี่ยวกับปัญการสังคมได้แก่
1. ทฤษฎีเกี่ยวกับพยาธิทางสังคม เป็นการเปรียบเทีบสังคมากับสิ่งมีชีวิต สังคมดีก็คือมีสุขภาพดี
เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งเจ็บป่วยขึ้นเราเรียกว่า พยาธิทางสังคม แนวคิดนี้เกิดขึ้นเป็นทฤฎีแรก
และแนวคิดสอดคล้องกับทฤษฎีของชาร์ดาวิน ในเรื่องทฤษฎีความอยู่รอด
พวกเขาปรับตัวไม่ได้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม จะก่อให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น เช่น
ความยากจน อาชญากรรม ทางแก้ไขต้องเลือกคนที่มียีนส์ดีเท่านั้น
2. ทฤษฎีการเสียระเบียบ มาจากการเรื่องการอพยพจากชนบทเข้าสู่เมือง
มีแนวคิดว่า สังคมมาจากการรวมตัวอย่างมีระเบียบ ถ้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้
คือ ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ทำผิดไปจากบรรทัดฐานสังคม ก็จะทำให้สังคมเสียระเบียบ
3. ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งในคุณค่า มีแนวความคิดว่าเมื่อใดที่สภาพสังคมไม่สอดคล้องกับระบบค่านิยมของกลุ่มสังคมนั้นจะมีปัญหาสังคมเกิดขึ้น
คือ ความขัดแย้งในค่าพัฒนาของกลุ่มคนต่างๆ เช่น การค้ากำไรเกินควร การเอาเปรียบแรงงาน
การแก้ไขปัญหา คือการต่อรอง การใช้อำนาจ
4. ทฤษฎีพฤติกรรมเบี่ยงเบน มีแนวความคิดว่า การละเมิดความคาดหวังทางบรรทัดฐานถือว่าเป็นการเบี่ยงเบนสาเหตุ
พฤติกรรมมาจากการเรียนรู้ ( การขัดเกลา ) สร้างการยอมรับในกลุ่มตน เช่น กลุ่มเด็กขอทาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น