วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาการศึกษาไทย


การศึกษาไทยได้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอด แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการจัดการศึกษา และการบริหารการศึกษาหลายประการ ซึ่งนอกจากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว ประเทศไทยในปัจจุบันยังประสบวิกฤตการศึกษาหลายประการ การแก้ปัญหาวิกฤตดังกล่าวจำต้องอาศัยปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปฏิรูปการศึกษา การออก พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542

เป็นก้าวย่างที่สำคัญในการวางกรอบการปฏิรูปการศึกษาเพื่อขจัดปัญหาและวิกฤตต่างๆ นับเป็น พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติฉบับแรกที่มีฐานะเป็นกฎหมาย และมีกระบวนการพัฒนาสอดคล้องกับการออกกฎหมาย ค่อนข้างสมบูรณ์ แต่การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางและสาระสำคัญใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จะประสบความสำเร็จ ย่อมที่จะต้องอาศัยองค์กรและบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรปฏิบัติ ได้แก่ สถานศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งย่อมต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอย่างดี
องค์ประกอบหลักเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของบุคลากรทางการศึกษาก็คือ เจตคติที่ดี
การให้ความสำคัญและการยอมรับในสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป

การที่ประเทศไทยจะแก้ปัญหาการศึกษาได้นั้น ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและหันมาร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้การพัฒนาทางด้านการศึกษาเป็นไปอย่างดี โดยจะมีส่วนทำให้บุคลากรของประเทศนั้นมี ความรู้ ความสามารถ และมีคุณภาพมากขึ้น เพื่อที่จะช่วยกันพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆต่อไป

องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู

ในมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นอกจากกำหนดให้มี
องค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาแล้วผู้บริหารการศึกษา ซึ่งเป็นองค์กรอิสระภายใต้การบริหาร
ของสภาวิชาชีพในกำกับของกระทรวงแล้วยังกำหนดให้เฉพาะครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการ
ศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษาต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
(professional license) ยกเว้นบุคคลต่อไปนี้คือ
1) บุคลากรเป็นศูนย์การเรียน ตามมาตรา 18 (3)
2) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
3) วิทยากรพิเศษทางการศึกษา
4) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา

ในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนถึงระดับปริญญา คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ส่วนคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา
ผู้บริหารการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งเปิดสอนระดับต่ำกว่าระดับปริญญา (อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่
การศึกษา) ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ดังนั้น บุคคลตามนัยนี้ทั้งสถานศึกษาของรัฐและเอกชนต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ในปัจจุบันมีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพอยู่หลายหน่วยงาน
เช่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้สนับสนุนการวิจัยและทำประชาพิจารณ์ นำโดย
ศาสตราจารย์ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และได้ข้อสรุปในเนื้อหาสาระหลายประการ แต่ยังไม่มีข้อยุติ
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู (ก.ค.) และคุรุสภา กำลังดำเนินการร่าง กฎหมายเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติได้ร่างมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เสนอให้คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติให้ความเห็นชอบ และคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2543 และประกาศใช้แล้ว

สำหรับมาตรฐานของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีการกำหนด
คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาไว้ดังนี้
1) มีคุณธรรม จริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดีโดย
- อุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- มีความรับผิดชอบ ยุติธรรม ซื่อสัตย์

- ไม่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุข
2) มีภาวะผู้นำและมีความสามารถในการบริหารจัดการ โดยมีวิสัยทัศน์ในการ
จัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

การปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จย่อมต้องอาศัยปัจจัยหลักหลายอย่าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยในระดับปฏิบัติคือ สถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริหาร ครูและบุคลากร
ทางการศึกษาอื่น รวมทั้งทรัพยากรที่จำเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารและการจัดการศึกษา เพื่อบรรลุจุดหมายของการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องมีศักยภาพ สมรรถภาพ และคุณลักษณะที่เอื้อต่อ การจัดการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม เพื่อจัดดำเนินการให้บรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายและจุดมุ่งหมายของการบริหาร

การบริหารโรงเรียนตามนโยบายและแนวโน้มต่อไป จะเป็นการบริหารโดยใช้โรงเรียน
เป็นฐานหลักสำคัญ (School-based management: SBM) ทั้งนี้เพราะผลการศึกษาหรือคุณภาพ
นักเรียนจะเกิดขึ้นที่โรงเรียนเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ในมาตรา 39 หมวด 5 ได้กำหนดให้มีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้ง 4 ด้าน
คือ ด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการ
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง
มาตรา 39 ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยัง คณะกรรมการ และ สำนักงาน
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษา และ สถานศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษา
โดยตรง หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจดังกล่าวให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 การกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้แก่สถานศึกษา/โรงเรียนโดย ตรงเป็นเรื่องใหม่ และจนถึงปัจจุบัน (กันยายน 2544) ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการกระจาย อำนาจเป็นกฎกระทรวง ประกาศใช้แต่อย่างใด เพื่อเป็นการเตรียมการและรับทราบสถานภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการ กระจายอำนาจดังกล่าว จึงเห็นสมควรศึกษาในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย กฎและระเบียบปฏิบัติต่อไป
:

ทำไมระบบการศึกษาไทยจึงพัฒนาช้า

"การศึกษา" นับว่ามีความสำคัญมากต่อการพัฒนาบุคลากรตลอดจนไปถึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาส่วนอื่น ๆ ด้วย เพราะไม่ว่าจะทำการพัฒนาส่วนใดต้องเริ่มมาจากการพัฒนาคนเสียก่อน ดังนั้นการพัฒนาคนสามารถทำได้หลาย ๆ รูปแบบ อย่างที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคนคือการให้การศึกษา ดังนั้นการพัฒนาประเทศต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาคนโดยต้องคำนึงถึงการศึกษาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ก้าวล้ำนำโลกไปมาก การศึกษาก็ต้องพัฒนาไปให้ทันกับโลก

เคยมีการสัมมนาเรื่อง "แนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน นิสิต นักศึกษาในปัจจุบัน" ซึ่งจัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่ง รศ.ดร.โภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา กล่าวว่า ปัญหาพฤติกรรมและค่านิยมทางสังคมที่ผิดของวัยรุ่นไทยในปัจจุบันมีความรุนแรงจนกลายเป็นวิกฤติทางสังคม ซึ่งปัญหาอันดับหนึ่งคือ ยาเสพติด รองลงมาคือการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรโดยเฉลี่ยจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุ 16 ปี เป็นที่มาของการทำแท้ง การทอดทิ้งเด็ก เด็กถูกทำร้าย การติดเชื้อเอดส์ และการขายบริการทางเพศ นอกจากนี้ยังมีปัญหาอุบัติเหตุจากความมึนเมา คึกคะนอง ท้าทายกฎระเบียบ ส่วนปัญหาที่กำลังมีแนวโน้มขยายตัวและรุนแรงในวัยรุ่นคือ การทำร้ายผู้อื่นและทำร้ายตนเอง โดยการคิดฆ่าตัวตาย ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากความอ่อนแอของสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนาและชุมชน รวมถึงสื่อโดยเฉพาะโทรทัศน์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันและรีบแก้ไขปัญหาวัยรุ่น

ผลจากการติดตามการปฏิรูปการศึกษาในรอบ 6 ปี หลังการประกาศใช้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 โดยประเมินจากคุณภาพภายนอกสถานศึกษา 17,562 แห่งทั่วประเทศ คิดเป็นร้อยละ 49.1 ของโรงเรียนทั้งหมด พบว่า การจัดการเรียนการสอนของครูยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับร้อยละ 39.2 การจัดกิจกรรมที่กระตุ้นผู้เรียนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ มีคุณภาพอยู่ระดับ ร้อยละ 13.5 และครูสามารถนำผลการประเมินมาปรับการเรียนและเปลี่ยนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเพียงร้อยละ 21.6 ของสถานศึกษาทั้งหมด การประเมินคุณภาพทางด้านผู้เรียนพบว่า ยังมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนระดับต่ำมากในทุกกลุ่ม โดยเฉพาะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มีคุณภาพระดับดีเพียงร้อยละ 11.1 และการมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพดีเพียงร้อยละ 26.5 ของสถานศึกษาทั้งหมด ส่วนผลการประเมินของผู้ตรวจราชการ พบว่า โครงสร้างการบริหารการศึกษาในส่วนกลาง ยังขาดการประสานเชื่อมโยงนโยบายและยุทธศาสตร์ ส่วนภูมิภาคพบว่าผู้แทนกระทรวงในจังหวัดยังไม่ชัดเจน การกระจายอำนาจไม่เป็นไปตามกฎหมาย ที่สำคัญครูจำนวนมากยังสอนแบบเดิม ขาดความรู้ในเนื้อหาวิชาและทักษะการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะครูในโรงเรียนขนาดเล็กขาดโอกาสพัฒนามาก เพราะไม่สามารถทิ้งห้องเรียนได้ การติดตามผลยังไม่เข้มแข็ง ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทางการศึกษา

สวนดุสิตโพล: “10 ปัญหาการศึกษาไทยที่ หนักอกผู้บริหารการศึกษา

ข่าวผลสำรวจ สวนดุสิตโพล -- ศุกร์ที่ 14 มกราคม 2543 11:45:29 น.

ปัญหาการศึกษาไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมาโดยตลอด การระดมความคิดเห็นของ ผู้บริหารการศึกษาทั้งในด้านการสะท้อนปัญหาและการแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง สวนดุสิตโพลสถาบันราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สอบถามความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษาระดับสูงและระดับกลาง ที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 216 คน (ทั้งผู้บริหารในกระทรวงศึกษาธิการ, ผู้บริหารสถานศึกษาทุกระดับ) ในวันที่ 14 มกราคม 2543 สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้

10 ปัญหาการศึกษาไทยที่หนักอกผู้บริหารการศึกษาและแนวทางการแก้ไข
อันดับที่ 1 ยาเสพติด 30.43%

วิธีการแก้ไข ทุกฝ่ายร่วมมือกันอย่างจริงจัง, จัดกิจกรรมให้กับนักศึกษามากขึ้น, ดำเนินการอย่างจริงจัง/ มีบทลงโทษเด็ดขาด ฯลฯ

อันดับที่ 2 ความตระหนักในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทางการศึกษา 12.56%

วิธีการแก้ไข ให้ความสำคัญกับอาชีพอย่างจริงจัง,กำหนดบทลงโทษและลงโทษอย่างเฉียบขาด สำหรับผู้ขาดความรับผิดชอบ, จัดทำบัญชีเงินเดือนให้สูงขึ้น ฯลฯ

อันดับที่ 3 เงินกู้ยืม ทุนการศึกษา มีไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ต้องการ 12.08%

วิธีการแก้ไข รัฐบาลควรให้ความสนับสนุนโดยช่วยเหลือนักเรียนและสถาบันการศึกษา, การมีข้าราชการประจำทำงานโดยเฉพาะ, จัดสรรงบประมาณ, ตั้งกองทุนกู้ยืม ฯลฯ

อันดับที่ 4 สถานศึกษาขาดปัจจัยสนับสนุน ด้านบุคลากร และงบประมาณที่เหมาะสม 11.59%

วิธีการแก้ไข รีบเร่งหามาตรการแนวทางในการสรรหาบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ, เพิ่มงบประมาณ,ใช้งบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ฯลฯ

อันดับที่ 5 นักศึกษา/ นักเรียน ขาดคุณภาพ 11.11%

วิธีการแก้ไข ดูแลกวดขันมากขึ้น, พัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเข้าสู่ระดับมาตรฐาน,จัดหาอาจารย์ผู้มีความสามารถและรับผิดชอบดูแล ฯลฯ

อันดับที่ 6 วัฒนธรรม / จริยธรรมเสื่อมโทรมลง 8.21%

วิธีการแก้ไข ให้ทางสถาบันกวดขันความประพฤติมากขึ้น, ควรกำหนดเนื้อหาวิชาศาสนา จริยธรรม เป็นวิชาแกนบังคับ, ผู้ปกครองควรช่วยกันดูแล ฯลฯ

อันดับที่ 7 การแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารของกระทรวงศึกษาไม่โปร่งใส/ไม่ยุติธรรม 5.13%

วิธีการแก้ไข มีคณะกรรมการที่โปร่งใส/ ยุติธรรมดำเนินการ, ไม่ควรให้นักการเมืองมาจุ้นจ้าน, จัดให้มีการสอบขึ้นบัญชีชัดเจน ฯลฯ

อันดับที่ 8 หลักสูตรการเรียนการสอนล้าสมัย 3.38%

วิธีการแก้ไข จัดการเรียนให้มีการพัฒนาพร้อมทั้งมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก,เปิดให้มีสถาบันรับรองการศึกษานอกจากองค์กรของรัฐ, ระดมครูทั้งประเทศร่วมกันคิดอย่างทั่วถึง ฯลฯ

อันดับที่ 9 การแต่งกายและการขาดระเบียบวินัยของนักศึกษา 2.90%

วิธีการแก้ไข กวดขันเรื่องการแต่งกายมากขึ้น, อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทุ่มเทเวลาต่าง ๆ ใกล้ชิดมากกว่านี้, ปลูกจิตสำนึกให้เข้าใจในบทบาทและหน้าที่ ฯลฯ

อันดับที่ 10 การปฏิรูปการศึกษาที่ล่าช้า ไม่มีแนวทางชัดเจน 2.61%


วิธีการแก้ไข ควรเร่งชี้แจงให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้รับทราบอย่างชัดเจนและเร่งสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรในกระทรวง ฯลฯ


ที่มา: http://buu401.blogspot.com/

ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น


            
ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่อยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน และนับวันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ปัญหาคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติเป็นเวลามหาศาล  เช่น การทุจริตของข้าราชการบางคนในการจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาสร้างถนน ทำให้ได้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงเพราะประชาชนต้องใช้ถนนในการสัญจร  หากถนนไม่ดี ชำรุด หรือทรุดตัวก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
            3.1  ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนใสังคม  โดยผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีและปลูกฝังเยาวชนให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมเป็นสำคัญ
            3.2  ภาครัฐควรรณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต  เน้นความซื่อสัตย์  และความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง
             3.3  กฎหมายไทย  ควรมีบทลงโทษทางสังคมต่อผู้ที่กระทำการทุจริตอย่างเข้มงวด  เพื่อไม่ให้มีการใช่ช่องโหว่ทางกฎหมายในการช่วยเหลือพวกพ้องให้พ้นผิด
             3.4  คนในสังคมจะต้องให้ความร่วมมือ  และให้การสนับสนุนองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและขจัดการทุจริต  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.) เป็นต้น
             3.5  สื่อมวลชนต้องให้ความสนใจในการติดตามการดำเนินงานของรัฐ   และเปิดโปงปัญหาที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าปัญหานี้เป็นอันตรายต่อสังคมมากเพียงใด


ผลเสียของการคอรัปชั่น
             1. ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต
            2. ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา
            3. ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย
3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
             ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่อยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน และนับวันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ปัญหาคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติเป็นเวลามหาศาล  เช่น การทุจริตของข้าราชการบางคนในการจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาสร้างถนน ทำให้ได้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงเพราะประชาชนต้องใช้ถนนในการสัญจร  หากถนนไม่ดี ชำรุด หรือทรุดตัวก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
            3.1  ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนใสังคม  โดยผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีและปลูกฝังเยาวชนให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมเป็นสำคัญ
            3.2  ภาครัฐควรรณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต  เน้นความซื่อสัตย์  และความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง
             3.3  กฎหมายไทย  ควรมีบทลงโทษทางสังคมต่อผู้ที่กระทำการทุจริตอย่างเข้มงวด  เพื่อไม่ให้มีการใช่ช่องโหว่ทางกฎหมายในการช่วยเหลือพวกพ้องให้พ้นผิด
             3.4  คนในสังคมจะต้องให้ความร่วมมือ  และให้การสนับสนุนองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและขจัดการทุจริต  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.) เป็นต้น
             3.5  สื่อมวลชนต้องให้ความสนใจในการติดตามการดำเนินงานของรัฐ   และเปิดโปงปัญหาที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าปัญหานี้เป็นอันตรายต่อสังคมมากเพียงใด
ผลเสียของการคอรัปชั่น
             1. ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต
            2. ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา
            3. ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย
3.ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
             ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่อยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน และนับวันยิ่งรุนแรงมากยิ่งขึ้น  ปัญหาคอร์รัปชั่นทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียงบประมาณที่ต้องนำมาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติเป็นเวลามหาศาล  เช่น การทุจริตของข้าราชการบางคนในการจัดซื้อวัสดุเพื่อนำมาสร้างถนน ทำให้ได้วัสดุที่ไม่มีคุณภาพแต่ราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรงเพราะประชาชนต้องใช้ถนนในการสัญจร  หากถนนไม่ดี ชำรุด หรือทรุดตัวก็จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
แนวทางการแก้ไขปัญหา
            3.1  ปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับเยาวชนใสังคม  โดยผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีและปลูกฝังเยาวชนให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนร่วมเป็นสำคัญ
            3.2  ภาครัฐควรรณรงค์ให้คนในสังคมรังเกียจการทุจริต  เน้นความซื่อสัตย์  และความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเอง
             3.3  กฎหมายไทย  ควรมีบทลงโทษทางสังคมต่อผู้ที่กระทำการทุจริตอย่างเข้มงวด  เพื่อไม่ให้มีการใช่ช่องโหว่ทางกฎหมายในการช่วยเหลือพวกพ้องให้พ้นผิด
             3.4  คนในสังคมจะต้องให้ความร่วมมือ  และให้การสนับสนุนองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและขจัดการทุจริต  เช่น  สำนักงานคณะกรรมการป้องกันการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ  (ป.ป.ช.) เป็นต้น
             3.5  สื่อมวลชนต้องให้ความสนใจในการติดตามการดำเนินงานของรัฐ   และเปิดโปงปัญหาที่เกิดขึ้นให้สังคมได้รับรู้ เพื่อให้ประชาชนทราบว่าปัญหานี้เป็นอันตรายต่อสังคมมากเพียงใด
ผลเสียของการคอรัปชั่น
             1. ด้านรัฐ ทำให้เกิดการผูกขาด ข้าราชการจะติดต่อซื้อขายกับพรรคพวกของตนหรือผู้ที่ให้ผลประโยชน์ต่อตนเอง เท่านั้น ทำให้สินค้าแพงกว่าความเป็นจริง วัสดุสิ่งของคุณภาพต่ำ ทำให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ในวงราชการ ใช้สถานที่ราชการหากินในทางไม่สุจริต
            2. ด้านข้าราชการ ทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์สุจริตหมดกำลังใจในการทำงาน ถ้าผู้บังคับบัญชาร่วมกับลูกน้องใกล้ชิดกระทำการคอรัปชั่นด้วยแล้ว ข้าราชการที่สุจริตย่อมอยู่ในวงราชการยากเพราะจะโดนกลั่นแกล้งตลอดเวลา

          3. ด้านประชาชน ประชาชนเสื่อมศรัทธาข้าราชการ เพราะข้าราชการที่คอรัปชั่นจะทำให้ข้าราชการที่ซื่อสัตย์พลอยเสียชื่อเสียง เกียรติยศ ไปด้วย
ที่มา: http://www.learners.in.th/blogs/posts/452211

ปัญหาภัยแล้ง

 


ปัญหาภัยแล้งและการป้องกันแก้ไข

น้ำเป็นทรัพยากรของแผ่นดินที่มนุษย์นำมาใช้โดยเสียค่าใช้จ่ายที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ ผลประโยชน์ที่ได้รับจาก
การที่จำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นทำให้ความต้องการใช้น้ำมีมากขึ้นด้วย ประกอบกับมีการทำลายความสมดุลของธรรมชาติอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการทำลายป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง และปัญหาอุทกภัยติดตามมา อย่างรุนแรงครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งในแต่ละครั้งได้สร้างความเสียหายทั้งชีวิต 
ทรัพย์สินและเศรษฐกิจ ของประเทศอย่างใหญ่หลวง ดังนั้นพวกเราทุกคนจึงต้องตระหนักถึงภัย พิบัติดังกล่า
และร่วมมือกันป้องกันแก้ไข ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เราอาจเคยได้ยิน คำพูดที่กล่าวล้อเล่นกันว่า "ประเทศไทยมี 
สองฤดู คือฤดูร้อนกับฤดูร้อนมาก" เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปในคำกล่าวนี้ ก็จะพบว่าไม่ใช่เป็นเรื่องล้อเล่นแต่
อย่างใด ในแต่ละปีเราประสบกับปัญหาภัยแล้งแทบ  ทุกภูมิภาคซึ่งสาเหตุสำคัญสืบเนื่องมาจาก
1) ปริมาณฝนตกน้อยเกินไป เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือการกระจาย น้ำฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ซึ่งกรณีหลังจะทำให้การขาดแคลนน้ำเป็นบางช่วงหรือบางn ฤดูกาลเท่านั้น แต่ถ้าหากฝนตกน้อยกว่าอัตรการระเหยของน้ำก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดสภาพการ  ขาดแคลนน้ำที่ต่อเนื่องกันอย่างถาวร
2) ขาดการวางแผนในการใช้น้ำที่ดี เช่น ไม่จัดเตรียมภาชนะหรืออ่างเก็บน้ำรองรับน้ำฝน  
ที่ตกเพื่อนำไปใช้ในช่วงขาดแคลนน้ำ
3) ลักษณะภูมิประเทศไม่อำนวย จึงทำให้บริเวณนั้นไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่และ ถาวร หรืออยู่ใกล้ภูมิประเทศลาดเอียงและดินไม่อุ้มน้ำ จึงทำให้การกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำได้ยาก เช่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ
ประเทศไทย
4) พืชพันธุ์ธรรมชาติถูกทำลาย โดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร การสำรวจทรัพยากรป่าไม้ ปี พ.ศ.2531 พบว่า มีพื้นที่ป่าเหลืออยู่เพียง 28% ของพื้นที่ประเทศ หรือประมาณ 90 ล้านไร่ และจากรายงานประมวลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ระบุว่าในปี พ.ศ. 2528 มีพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารเหลือเพียง 9 ล้านไร่เท่านั้น กรมป่าไม้ได้
ดำเนินการทำลาย โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร แต่อัตราการปลูกยังน้อยกว่าอัตราการทำลายมาก
คือนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ถึง 2528 รวมเวลา 24 ปี กรมป่าไม้ได้ปลูกป่าเป็นพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ 3 ล้านไร่ 
แต่อัตราการทำลายป่า เฉลี่ยในหนึ่งปีก็เท่ากับ 3 ล้านไร่เช่นเดียวกัน
5.) การเกิดมลพิษของน้ำ ทำให้ไม่สามารถน้ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ซึ่งกรณีนี้จะพบอยู่ ทั่วไปในพื้นที่เขตเมือง
และย่านอุตสาหกรรมหนาแน่น
ผลการขาดแคลนน้ำ
1.สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมและเกิดโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากขาดน้ำที่มีคุณภาพ มาใช้ในการบริโภค อุปโภค
2.ในบางพื้นที่ เช่น ในชนบทภาคอีสานหลาย ๆ พื้นที่ประชาชนต้องเสียเวลาและ ค่าใช้จ่ายไปกับการจัดหาน้ำเพื่อการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง
3.สร้างความเสียหายในด้านเศรษฐกิจเพราะกระบวนการผลิตทั้งภาคเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมซึ่งต้องว่าด้วยน้ำเป็นปัจจัยสำคัญไม่สามารถดำเนินการประกอบการผลิตอย่างเต็มที่หรือผลผลิตที่ได้น้อยลง เช่น ความเสียหายที่เห็นได้ชัด คือผลผลิตทางภาค เกษตรกรรมโดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย เป็นต้น
4. น้ำในแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ ลดน้อยลงหรือแห้งขอด ประชาชนไม่สามารถใช้น้ำ เพื่อการบริโภคอุปโภค หรือการคมนาคมขนส่งได้อย่างเต็มที่ และสัตว์น้ำบางชนิดต้องตาย  อันเนื่องมาจากขาดน้ำ หรือน้ำเกิดการเน่าเสีย

การป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือปัญหาภัยแล้ง
การป้องกันและแก้ไขมีหลายแนวทาง ได้แก่
1. จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี เช่น ในช่วงฤดูฝนตก ควรเตรียมภาชนะ บ่อ หรืออ่างเก็บน้ำเพื่อ รวบรวมน้ำฝนไว้ใช้ในยามขาดแคลน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง การกักเก็บน้ำไว้ใช้ส่วน ตัวควรจัดหาโอ่งน้ำ หรือภาชนะเก็บกักน้ำไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนการวางแผนเก็บกักน้ำสำหรับส่วนรวม ควรจัดสร้างอ่างเก็บน้ำหรือสระน้ำขนาดใหญ่ เพื่อ เก็บน้ำไว้ใช้อย่างเพียง พอสำหรับการใช้ของชุมชน
2. การสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดีวิธีหนึ่งการสำรวจและขุดเจาะน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาลมาใช้นอกจากเพื่อบริโภคอุปโภคแล้ว ยังใช้เพื่อการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมด้วย
3. การนำน้ำมาใช้หมุนเวียน เป็นวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ โดยผ่าน กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้ำ เช่น น้ำที่นำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น
4. การแปรสภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด วิธีนี้เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดในเขตภูมิอากาศ แห้งแล้งติดชายฝั่งทะเล ซึ่งทำได้โดยการใช้วิธีการกลั่น ถึงแม้ว่าการผลิตน้ำจืดจากน้ำเค็มจะต้อง ลงทุนสูงกว่าการทำน้ำจืดให้บริสุทธิ์ถึง 4 เท่า แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพียงบรรเทาความเดือดร้อนในการ ขาดแคลนน้ำในบริเวณนั้น และมีแนวโน้มว่าต้องใช้น้ำเค็มเป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำจืดเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำจืด
5. การทำฝนเทียม มีวิธีการแก้ไขปัญหาในการขาดแคลนน้ำจืด ที่ได้ผลดีวิธีหนึ่งโดยใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามาช่วย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักใช้ในพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในฤดูฝนและพื้นที่สำคัญในการเพาะปลูก

ปัญหาการทำแท้ง



การทำแท้ง
ความหมายของการแท้ง
          การแท้ง  หมายถึงการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนที่เด็กจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้นอกครรภ์มารดาเท่าที่องค์การอนามัยโลกใช้กันมาแต่เดิม ถือเอาการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ก่อนอายุครรภ์ ๒๘ สัปดาห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังหนักไม่ถึง ๑,๐๐๐ กรัม
          ในระยะหลังนี้ประเทศที่พัฒนาแล้วมีความก้าวหน้าทางการแพทย์มาก จนสามารถจะเลี้ยงดูเด็กที่น้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า ๑,๐๐๐ กรัม ให้รอดชีวิตได้เป็นส่วนใหญ่ ประเทศเหล่านั้นจึงเปลี่ยนนิยามของการแท้งใหม่ โดยถือว่าการแท้งเป็นการสิ้นสุดของการตั้งครรภ์เมื่ออายุครรภ์ต่ำกว่า ๒๐ สัปดาห์ หรือเมื่อเด็กมีน้ำหนักต่ำกว่า ๕๐๐ กรัม สำหรับในประเทศไทยยังไม่ก้าวหน้าถึงเพียงนั้น จึงพากันใช้คำนิยามเดิมไปก่อน

          การแท้งอาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ ๒ กลุ่ม  คือ
          ๑. การแท้งเอง หมายถึงการแท้งที่เกิดจากสาเหตุต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำที่จงใจจะให้เกิดการแท้ง ถือเป็นความล้มเหลวของการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ สาเหตุของการแท้งเองอาจจะเกิดได้จาก
               ก. ความบกพร่องของไข่ที่ผสมแล้ว หรือตัวอ่อน พวกนี้จะแท้งตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ใหม่ๆไปจนถึงอายุครรภ์ไม่เกิน ๑๒ สัปดาห์
               ข. ความบกพร่องทางด้านมารดา เช่น มดลูกพิการ   ปากมดลูกปิดไม่ดี   โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคไต โรคเลือด การแท้งจากสาเหตุนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออายุครรภ์มากเกิน ๑๒ สัปดาห์ขึ้นไป
          จากการสำรวจผู้ป่วยแท้งเอง แพทย์ยังไม่พบสาเหตุชัดเจน สำหรับตัวผู้ป่วยเองนั้น มักจะคิดว่าการกระทบกระเทือนเป็นสาเหตุของการแท้ง
          ๒. การทำแท้ง หมายถึง กระทำเพื่อให้เกิดการแท้ง แบ่งเป็น
               ก. การทำแท้งเพื่อการรักษา หมายถึง การทำแท้งในกรณีที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้ กฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า แพทย์สามารถจะทำแท้งได้ในกรณีต่อไปนี้
               (๑) เมื่อพิจารณาเห็นว่าหากปล่อยให้การตั้งครรภ์ดำเนินต่อไปจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตสุขภาพของมารดา เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคเลือด โรคไตบางชนิด
               (๒)  มารดาที่เป็นโรคจิตอยู่ก่อนการตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคจิตขณะตั้งครรภ์
               (๓) การตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นจากการข่มขืนกระทำชำเราในผู้เยาว์ต่ำกว่า ๑๕ ปี  โดยทั่วไป แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่ารายใดควรจะทำแท้งให้ แม้ว่าจะมีเหตุผลถูกต้องตามกฎหมายแพทย์ก็ยังจะต้องพิจารณาดูถึงผลได้และผลเสียของการทำแท้งในแต่ละรายด้วย อาทิเช่น เด็กอายุ ๑๓ ขวบถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ถึงแม้จะมีหลักฐานชัดเจน แต่ได้ปล่อยปละละเลยทิ้งไว้จนอายุครรภ์ ๖ เดือน กรณีนี้การทำแท้งก่อให้เกิดอันตรายมากกว่าการปล่อยให้ตั้งครรภ์ต่อไป
          อาจจะเป็นเพราะกฎหมายการทำแท้งค่อนข้างเก่า  หรือเพราะความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการแพทย์ค่อนข้างรวดเร็ว จนสามารถจะให้การวินิจฉัยความพิการบางชนิดของเด็กในท้องได้ แพทย์จึงทำแท้งให้ในกรณีของเด็กพิการ ซึ่งบางรายยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าจะพิการหรือไม่ เช่น กรณีของมารดาติดเชื้อหัดเยอรมัน เพียงขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ โอกาสที่เด็กในท้องจะมีความพิการของหัวใจ หูหนวก ตาเป็นต้อ  และสมองพิการในอัตราค่อนข้างสูง  มารดามีความวิตกกังวลว่าเด็กที่ออกมาจะพิการ เป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของมารดา และถ้าเด็กออกมามีความพิการจริงก็จะเป็นภาระแก่ครอบครัว สังคม และประเทศชาติต่อไป

          ตารางแสดงเหตุผลในการลอบทำแท้งของสตรีที่แต่งงานแล้ว (พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๒๑)
เหตุผลในการทำแท้ง
% ของสตรีทั้งหมด (๒,๘๓๐)
  มีบุตรเพียงพอแล้ว
  ตั้งครรภ์ถี่เกินไป
  รายได้ไม่พอ
  ครอบครัวแตกแยก
  การตั้งครรภ์ขัดต่องานอาชีพ
  ไม่มีคนเลี้ยงดูบุตรขณะไปทำงาน
  เคยคลอดยากมาก
  เหตุผลอื่น ๆ
  ไม่ทราบเหตุผล
๒๐.๑
๑๘.๑
๒๔.๗
๑๕.๗
๖.๑
๐.๗
๓.๖
๗.๓
๓.๗
                                       

          ในเรื่องของโรคจิตนั้น  จิตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาชี้ขาดว่าควรทำแท้งหรือไม่ ทั้งนี้ก็เพื่อขจัดปัญหาเกี่ยวกับการเป็นโรคจิตจริงหรือโรคจิตปลอมออกไป
               ข. การทำแท้งผิดกฎหมาย หมายถึงการลักลอบทำแท้งโดยบุคคลที่มิใช่แพทย์ ไม่ว่าจะทำโดยเหตุผลใดๆ ทั้งสิ้น รวมทั้งการทำแท้งโดยแพทย์ที่ทำนอกเหนือข้อบ่งชี้ที่กฎหมายระบุไว้ เนื่องจากผู้ประกอบการทำแท้งส่วนมากมิใช่แพทย์  และทำแท้งโดยไม่ถูกหลักวิชา   การทำแท้งผิดกฎหมายจึงมักมีอาการแทรกซ้อน และมีอันตรายมากกว่าแท้งเอง หรือแท้งเพื่อการรักษา
วิธีทำแท้งที่ใช้กันในสมัยนี้ตามสถานที่ทำแท้งเถื่อนมีหลายวิธี

1. ใส่อุปกรณ์หรือฉีดสารเข้าทางช่องคลอด
2. เหน็บยา
3. กินยา
4. เหยียบเตะต่อย(อันนี้ที่จริงมักทำกันเองที่บ้าน)

เครื่องมือทำแท้ง 
1. ใส่อุปกรณ์หรือฉีดสารเข้าทางช่องคลอด
เป็นวิธียอดนิยมที่ทำกันมานาน และก็เป็นวิธีที่ " เลียนแบบ " แพทย์ตัวจริงมาใช้ " ขูดมดลูก " อุปกรณ์ที่ใช้คือตัวขูดเนื้อยาวราวๆฟุตนึง ตรงกลางเป็นก้าน ตรงปลายจะมีลักษณะคล้ายที่ขูดมะพร้าว

วิธีทำคือเมื่อผู้หญิงมาถึง นั่งบนขาหยั่ง ผู้ทำแท้งจะเปิดแหวกช่องคลอดด้วยเครื่องถ่าง แล้วใช้เครื่องมือจิกปากมดลูกไว้ จากนั้นเอาที่ขูด แหย่เข้าไปขูดในมดลูก ถ้าคนทำแท้งมีความรับผิดชอบต่อค่าจ้างที่ได้ เขาจะขูดตัวอ่อนออกมา แล้วก็ขูดเนื้อในมดลูกไปด้วย ถ้าไม่รับผิดชอบ ก็ขูดแค่พอเห็นเนื้อๆแล้วก็พอให้กลับได้ ระหว่างที่ทำอาจเจ็บได้บ้าง ขึ้นกับราคาที่จ่ายไป ถ้ามากหน่อยอาจมียาแก้ปวดอย่างแรงให้กิน (ซึ่งก็เลยเห็นเป็นภาพชินตาที่พอตำรวจบุกแล้วพวกเธอมักหนีไม่ทันกัน) แต่บางแห่งก็ให้แค่ยาแก้ปวดธรรมดามากินก่อนขูดมดลูก เพราะว่าเวลาขูดก็เอาแค่ขูดน้อยๆ

ปัญหาที่ตามมาคือ
1.1 เนื้อในมดลูกที่เหลือ...

เพราะว่าร่างกายคนเราที่เตรียมจะมีเด็ก จะมีการขยายของพื้นที่ในมดลูกโดยเพิ่มเส้นเลือดมากๆ และมีที่ให้เด็กมาเกาะมากๆ ทีนี้พอไม่มีเด็กเพราะโดนขูดไปแล้ว เนื้อพวกนี้ก็จะพยายามหลุดลอกตัวออก แต่ฤทธิ์ฮอร์โมนที่ยังมีอยู่ อาจทำให้หลุดไม่ดี

คนที่โชคดี ก็จะมีเลือดออกมาสักสัปดาห์ -2สัปดาห์ กินยาสตรีต่างๆแล้วก็ขับน้ำคาวปลาออกไปได้พร้อมเนื้อรกเนื้อมดลูก คนที่โชคไม่ดี เนื้อเหล่านี้ไม่หลุดออก ก็จะมีเลือดไหลออกมาเรื่อยๆไม่หยุด บางคนไหลเป็นเดือนๆกว่าจะมาหาหมอ บางคนไหลจนตาย (ที่จริงคงมีการทะลุมดลูกร่วม)

1.2 ติดเชื้อ ตรงไปตรงมา เครื่องมือและคนทำห่วยแตก
มดลูกทะลุ .... เพราะในการขูดมดลูกที่ถูกต้อง ต้องมีการวัดขนาดและตรวจดูรูปร่างของมดลูกว่าหันไปทางทิศใดก่อนขูดเนื่องจากการขูดเป็นการทำโดยไม่เห็นด้วยตา แต่อย่าไปหวังอะไรกับคนทำแท้งเถื่อนเลย ส่วนใหญ่มักขูดไปเลย และมีไม่น้อยที่ทะลุ โชคดีก็ปิดได้เอง โชคร้ายเผลอๆติดเชื้อในท้องแบบเวลาไส้ติ่งแตกหรือกระเพาะทะลุก็มี ที่ร้ายไปกว่านั้น บางคนที่ผมเคยเจอการทะลุจากมดลูกเข้าช่องท้องต่อไปยังลำไส้ใหญ่... เมื่อหายแล้วก็กลายเป็นว่ามีช่องทางใหม่ ทำให้อุจจาระไหลออกมาทางช่องคลอดได้ (ซึ่งผ่าซ่อมยาก)


1.3 ขูดมั่วไม่โดนเด็ก
เลือดออกแป๊บเดียวก็หยุด แต่ที่ไหนได้ท้องโตจนคลอดออกมาเป็นตัว

1.4 สุดท้ายก็ต้องไปหาหมอ(ตัวจริง)
เท่าที่เคยเจอมา ที่ทำแท้งเถื่อนห่วยๆบางที่ใช้วิธีขูดมั่วซั่ว พอเป็นพิธีแล้วบอกว่าถ้าเลือดไม่หยุดให้ไปหาหมอ.. ส่วนใหญ่มันแค่เอาเครื่องมือสอดแล้วขูดครั้งสองครั้ง เอาเนื้อชิ้นโตๆมาชิ้นเดียวแล้วปล่อยภาระให้เป็นของแพทย์ตัวจริงส่วนใหญ่มักจะมีอาการมาด้วยเรื่องเลือดไหลออกทางช่องคลอด พร้อมกับเรื่องเล่าแปลกๆ ถ้าเป็นสิบปีก่อน ก็จะเล่าว่าเดินข้ามท้องร่องแล้วลื่นไม้กระดานฟาดกลางหว่างขา เดี๋ยวนี้ก็เป็นล้มในห้องน้ำ ขับรถเครื่องแล้วเบรกแรงๆ ตกบันได

หยุดการไปทำแท้ง  เพื่อให้ทุกอย่างง่ายขึ้น ปลอดภัยทั้งตัวคุณเองและคนที่ให้การรักษา เคยมีกรณีที่เด็กบอกว่าหกล้มในห้องน้ำแล้วเลือดออก แม่ก็ยืนยันว่าเป็นเรื่องจริงเห็นกับตา แต่ว่าไปๆมาๆเกิดปวดท้องไข้สูง และก็ติดเชื้อในช่องท้องจากการที่มดลูกทะลุและมีการติดเชื้อ.....

ซึ่งการติดเชื้อระดับนี้ ถ้ารู้ว่าไปทำแท้งมาและเลือดออกไม่หยุด ส่วนมากก็จะขูดต่อให้เสร็จสรรพเพื่อรักษา และจะได้ให้ยาทั้งหลาย ทั้งยาฆ่าเชื้อและวัคซีนบาดทะยัก โดยก็จะใช้เครื่องมือดันเปิดทาง แต่จะมีเครื่องวัดขนาดภายในมดลูก และมีการตรวจทิศทางของมดลูกเพื่อจะได้ใส่เครื่องมือได้ถูก จากนั้นก็จะค่อยๆขูดโดยใช้วิธีที่ถูกต้องเพื่อให้ได้เนื้อออกมาให้ครบถ้วนที่สุดเพื่อเลือดจะได้หยุดไหล นอกจากนี้ยังมีวิธีทำแท้งโดยใช้การฉีดยาหรือสารบางอย่างเข้าไป เช่นฉีดน้ำเกลือเข้าไปรอบๆทารกให้ทารกขาดน้ำตาย หรือฉีดสารพิษให้ทารก แต่การทำแท้งวิธีนี้เสี่ยงต่อแม่มาก เพราะหลายครั้งผู้ทำแท้งก็ฉีดมั่วจนตายทั้งแม่ทั้งลูก ปัจจุบันก็เลยเจอลดลง

2. เหน็บยา
วิธียอดฮิตที่มีที่มาจากการที่พบว่ายารักษาโรคกระเพาะตัวนึงเมื่อกินเข้าไปทำให้แท้งได้บ่อย และต่อมาก็พบว่ายานี้ออกฤทธิ์ที่มดลูกได้ ต่อมาก็มีคนเอามาใช้เพื่อการทำแท้ง และต่อมาอีกก็นำมาใช้ในการเร่งคลอดให้ปากมดลูกเปิดได้เร็วขึ้น

ปัญหาที่ทำให้หมอไม่ชอบใช้ยานี้ทำแท้งอย่างถูกกฎหมาย มีดังนี้คือท้องอ่อนๆ หมอชอบทำแท้งให้เพราะอันตรายน้อยกว่าและเด็กยังเล็ก แต่ยานี้ใช้ไม่ค่อยได้ผลมดลูกไม่หดปากมดลูกไม่เปิดท้องมากๆ หมอไม่ชอบทำแท้ง แต่ยาดันใช้ได้ผลดีขึ้น เด็กไหลดีนัก แต่หมอจะฝันร้าย เพราะว่าเด็กที่หลุดออกมาจะยังมีชีวิต ดิ้นได้ และจะดิ้นอย่างสุดฤทธิ์ก่อนตาย บางคนดิ้นเป็นชั่วโมง


ยาตัวนี้เป็นที่นิยมในหมู่ผู้รับทำแท้งและคนขายยานอกคอก เนื่องจากขายในราคาเม็ดละ700-1400บาท เวลาใช้มักขายทีละสองเม็ด โดยที่ต้นทุนไม่ถึง10บาท กำไรเหนาะๆ และไม่ต้องเสี่ยงถูกจับเท่าเปิดร้าน หลายครั้งที่มีคนมาด้วยเรื่องตกเลือด พอตรวจไปก็เจอว่ามียาที่ยังละลายไม่หมดเหน็บอยู่ (แต่เจ้าตัวก็ยังปฏิเสธว่านั่นน่ะยาเหน็บแก้เชื้อรา..)

ข้อเสียนอกจากเด็กตายแบบดิ้นๆ ยังมีอีกคือ Amniotic pulmonary embolism ซึ่งเป็นภาวะอันเกิดจากการที่มดลูกบีบรัดแรงแล้วทำให้น้ำคร่ำไหลเข้ากระแสเลือด แล้วไปอุดตันที่ปอดของแม่จนแม่ขาดอากาศตาย ซึ่งภาวะนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้อยู่แล้วแม้คลอดปกติ และช่วยเหลือยากมากแม้อยู่ในมือหมอ  ข่าวดังๆที่หาว่าหมอทำคลอดไม่ดีแล้วแม่ตาย ก็มีส่วนมาจากอันนี้เหมือนกัน นี่ขนาดบางคนอยู่ในโรงเรียนแพทย์และมีหมอสิบกว่าคนยื้อชีวิตยังเอาไม่อยู่ ถ้าเกิดใครไปเหน็บยาตัวนี้เข้าแล้วเกิด Amniotic pulmonary embolism ขึ้นล่ะ รอดยากครับ ก็คงตายเงียบๆในบ้าน

3. กินยา
วิธีสุดคลาสสิก เห็นในหนังไทยที่คุณหญิงย่าบังคับให้นางอิจฉาเอายาขับเลือดกรอกปากนางเอก กรอกเสร็จแล้วจะเกิดอาการปวดท้องแล้วก็มีเลือดไหลออกทางหว่างขา

4. เหยียบ เตะ เข่า ศอก นวด
วิธีที่อ้างว่าได้ผล....
คงได้ผลกันบ้างแลกกับการเจ็บตัวพอสมควรของแม่เด็ก เป็นวิธีที่ไม่เคยได้ประสบหรือเจอใครที่เอาตัวเข้าแลกขนาดนั้น... เห็นแต่ในหนัง ที่กลิ้งตกบันไดแล้วเลือดออก
แต่เรื่องที่ยืนยันว่าเข่าและเท้าเอาเด็กออกได้ก็มี เป็นเรื่องของครอบครัวนึง แม่ตั้งท้องแฝด ตั้งท้องได้ 7-8 เดือน พ่อก็ทะเลาะกับแม่แล้วเตะต่อยท้อง....... จนแม่ปวดมาก และเมื่อทนไม่ไหวก็ไปโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง แล้วเด็กก็เริ่มคลอดแบบทันที ที่ไปถึง โดยที่หมอยังไม่ทันตั้งตัว เด็กออกมาได้ 1 คน แต่อีกคนคาอยู่ออกยาก และในที่สุดเด็กออกมาก็แย่ทั้งคู่เนื่องจากคลอดก่อนกำหนดและคนน้องก็แย่เพราะขาดอากาศ
เรื่องนี้ พ่อเด็กเอาเรื่องหมอ หาว่าหมอฝีมือแย่ทำให้ลูกเขาแย่หายใจไม่ได้........ เอาเรื่องไปลงหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น... จนที่สุดหมอต้องจ่ายเงินให้ไปหลายแสนทั้งที่ไม่ผิด

((( บาปกรรม จากการทำแท้ง )))

.......ในสังคมปัจจุบัน ปัญหาการทำแท้งส่วนใหญ่พบในกลุ่มวัยรุ่นกำลังเรียน หรือพนักงานโรงงานต่างๆ สถิติการทำแท้งนับวันมีจำนวนสูงขึ้นอย่างน่าตกใจ ในขณะเดียวกันก็พบคลีนิคทำแท้งผิดกฎหมายทุกจังหวัด โดยเฉพาะในเขตโรงงานหรือสถาบันการศึกษา ยิ่งไปกว่านั้นบางประเทศเปิดโอกาสให้มีการทำแท้งเสรี เพราะรัฐบาลคิดว่าเป็นทางแก้ปัญหา เข้าใจว่าเป็นสิทธิ์ของผู้เป็นแม่ที่จะเลือกเอาเด็กไว้หรือไม่ก็ได้ หารู้ไม่เป็นบาปกรรมอย่างหนัก เพราะเป็นการฆ่ามนุษย์

ต้นเหตุของปัญหาอาจมาจากหนุ่มสาวรักกัน บางครั้งถึงขั้นพลาดพลั้งเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมาในขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อม บางทีชายก็แนะหญิงให้ทำแท้ง หญิงก็เห็นดีเห็นงามไปด้วย อาจเป็นเพราะความไม่พร้อม หรือเกรงจะสร้างปัญหา เนื่องจากตนเองยังเรียนไม่จบ ผลสุดท้ายต้องไปทำแท้งเอาเด็กออก หรือบางกรณีหมอวินิจฉัยว่าลูกในท้องเกิดมาต้องพิการก็ไปทำแท้งอีกเช่นกัน เพราะเกรงจะเป็นปัญหา เป็นภาระของตัวเองในอนาคต

ในความเป็นจริง การได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถือว่าได้เกิดในสุคติภูมิที่เกิดขึ้นได้ยาก ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า หากจะเปรียบเทียบจำนวนของผู้ที่ไปเกิดในทุคติ เช่น ไปเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน กับจำนวนผู้ที่มาเกิดในสุคติภูมิ เช่น โลกมนุษย์ สวรรค์ หรือ พรหมโลกแล้วละก็ จำนวนผู้ที่มาเกิดในสุคติภูมินี้น้อยนิดเหลือเกิน ไม่ถึงแม้ส่วนเสี้ยวของจำนวนผู้ที่ไปเกิดในทุคติ เหมือนฝุ่นในเล็บมือไม่อาจเปรียบเทียบกับแผ่นดินทั้งโลกนี้ได้ฉะนั้น

อีกประการหนึ่งคือ การจะเกิดมาเป็นมนุษย์ได้ ต้องอาศัยกายของบิดาและมารดาเป็นแดนเกิด ซึ่งจะต้องประกอบธาตุส่วนหยาบ เพื่อให้กายละเอียดของผู้มีบุญพอที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ได้เกิดมาสร้างบารมี สร้างความดีต่อไป ทารกน้อยผู้กำลังจะเกิดมา ควรจะมีสิทธิ์ในชีวิตของตนเอง แต่พ่อกับแม่บางรายกลับไม่อนุญาต ไปเอาเขาออกก่อนกำหนด


การทำแท้ง หรือการยุติตั้งครรภ์เป็นปัญหา ทั้งทางสังคม ทางการแพทย์ และทางกฎหมายที่มีความละเอียดอ่อน และหลากหลายในประเด็นต่างๆ ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง. ล่าสุดได้มีข่าวใหญ่ที่ได้มีการจับกุมแพทย์คนหนึ่งสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการทำแท้งที่คลินิกส่วนตัว ซึ่งทันทีที่มีการจับกุม แพทยสภาก็ได้ดำเนินการตรวจสอบ และพิจารณาในเรื่องจริยธรรมของแพทย์ ดังกล่าวทันที.

การทำแท้งนั้นสามารถกระทำได้โดยถูกกฎหมาย ในบางกรณีตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติไว้ดังนี้

มาตรา 301
หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือ ยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 302
ผู้ใดทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงนั้นยินยอมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงรับอันตรายสาหัสอย่างอื่นด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการกระทำนั้นเป็นเหตุให้หญิงถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

มาตรา 305
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าว ในมาตรา 301 และมาตรา 302 นั้น เป็นการกระทำของนายแพทย์และ
(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากสุขภาพของ หญิงนั้น หรือ
(2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284
ผู้กระทำไม่มีความผิด

ขณะนี้มีร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 305 ที่เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งกำลังรอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอยู่ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้แพทย์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เพิ่มจากเดิมอีก โดยได้บัญญัติให้ชัดเจนว่า สามารถกระทำได้เพื่อสุขภาพจิตของมารดา และ เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วยซึ่งเป็นกรณีที่หลายๆฝ่ายเห็นว่า ควรได้รับการยกเว้นให้กระทำได้ เพราะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย ซึ่งเป็นหญิงที่ตั้งครรภ์แล้วมีปัญหา แต่ขณะที่กำลังรอร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ แพทยสภาก็ได้มีข้อบังคับของแพทยสภาในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์ ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา แล้วดังนี้
 
ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วย
หลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์
ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (3) (ฎ) และด้วยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษตามมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการแพทยสภาออกข้อบังคับ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2548"Ž

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3
การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น จะกระทำได้เมื่อหญิงตั้งครรภ์นั้นยินยอม

ข้อ 4
แพทย์ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อบังคับนี้ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมาย

ข้อ 5 การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามมาตรา 305 (1) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(1) เป็นกรณีที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากปัญหาสุขภาพทางกายของหญิงตั้งครรภ์ หรือ
(2) เป็นกรณีที่จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากปัญหาสุขภาพทางจิตของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งจะต้องได้รับการรับรอง หรือเห็นชอบจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ อย่างน้อยหนึ่งคน

ในกรณีที่หญิงนั้นมีความเครียดอย่างรุนแรง เนื่องจากพบว่าทารกในครรภ์ มีหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะมีความพิการอย่างรุนแรง หรือเป็นหรือมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคพันธุกรรมอย่างรุนแรง เมื่อหญิงนั้นได้รับการตรวจวินิจฉัยและการปรึกษาแนะนำทางพันธุศาสตร์ (Genetic counseling) และมีการลงนามรับรองในเรื่องดังกล่าวข้างต้นโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่มิใช่ผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งคน ให้ถือว่าหญิงตั้งครรภ์นั้นมีปัญหาสุขภาพจิตตาม (2)
ทั้งนี้ต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าหญิงนั้นมีปัญหาสุขภาพทางกายหรือทางจิต และต้องมีการบันทึกการตรวจและวินิจฉัยโรคไว้ในเวชระเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน

ข้อ 6 การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามมาตรา 305 (2) แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น ต้องมีหลักฐานหรือข้อเท็จจริงอันควรเชื่อได้ว่า หญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 305 (2) แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ข้อ 7
การยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อ 5 และข้อ 6 ต้องกระทำในสถานพยาบาลดังต่อไปนี้
(1) โรงพยาบาลหรือหน่วยงานของรัฐที่ให้บริการรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน หรือสถานพยาบาลเวชกรรมที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล ทั้งนี้โดยสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ได้ตามความเหมาะสม
(2) คลินิกเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล โดยสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ที่อายุครรภ์ไม่เกินสิบสองสัปดาห์

ข้อ 8
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อบังคับนี้จะต้องทำรายงานเสนอต่อแพทยสภา ตามเงื่อนไขและระยะเวลาในแบบฟอร์มที่แพทยสภากำหนด

ข้อ 9
ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้กระทำการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผู้นั้นประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่รักษามาตรฐานในระดับที่ดีที่สุด

ข้อ 10
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อบังคับนี้ ให้ถือว่าได้กระทำตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา

ผลจากการปราบคลินิกทำแท้ง : ความจริงที่สังคมไม่ยอมรับ
         ปัญหาการทำแท้งเถื่อนยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับต้นๆ ของสังคมไทยเสมอมา เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว คอลัมน์นี้ได้เขียนเรื่องการทะลายคลินิกทำแท้งเถื่อนไปแล้ว ยังไม่ทันจะครบปีดี ก็มีเหตุให้ต้องมาเขียนประเด็นการทำแท้งซ้ำอีกครั้ง เมื่อมีการจับกุม พ.ต.อ.น.พ.สมชัย ตรีมธุรกุล ที่คลินิกแห่งหนึ่งใน อ.หาดใหญ่ ผลของการปราบปรามลักษณะนี้ทำให้สังคมออกมาชี้หน้าผู้หญิงว่าเป็นแม่ใจยักษ์ ประนามหมอว่าใจบาปและเห็นแก่เงิน แต่จะมีสักกี่คนที่หยุดคิดสักนิด และมองปัญหาให้รอบด้านสมกับที่ภาคภูมิใจว่าตนกำลังใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอุดมปัญญา
         คอลัมน์นี้จึงขอเสริมสร้างปัญญามากกว่าเพิ่มปัญหาด้วยการนำเสนอข้อมูลที่รอบด้านในประเด็นการทำแท้งจากหนังสือ สุขภาพคนไทย 2551 ที่จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) บทความเรื่อง ถึงเวลาต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาทำแท้งเถื่อนให้ได้ผลในหนังสือเล่มนี้ ได้ให้ข้อมูลสภาพปัญหา ข้อค้นพบจากงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง แนวทางแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้านเอาไว้ด้วย
         บทความดังกล่าวระบุว่าเริ่มมีการใช้กฎหมายอาญาเมื่อปี 2500 ส่วนมาตราที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งมี 5 มาตรา คือ มาตรา 301-303, 304 และ 305 ซึ่งมาตรา 305 ระบุว่าถ้าการทำแท้งนั้นทำโดยแพทย์และจำเป็นต้องกระทำเนื่องจาก “(1) สุขภาพของหญิงนั้น หรือ (2) หญิงมีครรภ์เนื่องจากการกระทำความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 276 มาตรา 277 มาตรา 282 มาตรา 283 หรือมาตรา 284 ผู้กระทำไม่มีความผิดการระบุเช่นนี้ มีปัญหาอย่างมากในการตีความและการปฏิบัติ แพทย์ส่วนใหญ่จึงตีความกฎหมายอย่างแคบที่สุดเพื่อไม่ให้ตนเองถูกตั้งข้อกล่าวหา หรือพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าพยายามปฏิเสธที่จะให้บริการทำแท้งไว้ก่อน
         อย่างไรก็ตาม ได้มีแพทย์และนักวิชาการที่ใกล้ชิดกับปัญหาหรือพูดได้ว่าเป็นตัวจริงเสียงจริงที่ตามแก้ปัญหาการทำแท้งเถื่อนและการบาดเจ็บล้มตายของผู้หญิง ร่วมกันผลักดันการออก ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 15 ธันวาคม 2548 โดยข้อบังคับแพทยสภานี้ได้ขยายคำนิยามของคำว่า สุขภาพให้ครอบคลุมถึงสุขภาพจิตด้วย นับเป็นการมอง สุขภาพอย่างเป็นองค์รวม และสอดคล้องกับสภาพปัญหา
         สาระของข้อบังคับนี้กำหนดว่าการยุติการตั้งครรภ์นั้นกระทำได้เมื่อหญิงนั้นยินยอมในกรณีต่างๆ ดังนี้ หนึ่ง หญิงมีครรภ์มีปัญหาสุขภาพทางกาย สอง หญิงมีครรภ์มีปัญหาสุขภาพจิต สาม หญิงมีครรภ์มีความเครียดอย่างรุนแรง ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่จะพิการหรือเป็นโรคพันธุกรรมรุนแรงให้ถือว่าหญิงนั้นมีปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งต้องได้รับการรับรองจากแพทย์ที่มิใช่ผู้ทำการยุติการตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งคน และต้องมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน และมีการบันทึกการตรวจและวินิจฉัยโรคไว้ในเวชระเบียนเพื่อเป็นหลักฐาน สาม เมื่อทารกในครรภ์มีความพิการรุนแรง และ 4 กรณีที่ถูกข่มขืนซึ่งเพียงมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการมีครรภ์นั้นเกิดจากการข่มขืน ไม่จำเป็นต้องมีใบแจ้งความ ที่สำคัญข้อบังคับแพทยสภานี้ยังระบุชัดด้วยว่าผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ตามข้อบังคับนี้ให้ถือว่าได้กระทำตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
         จากการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านจึงมีการเสนอแนวทางแก้ปัญหาการทำแท้งเถื่อนและผลกระทบของปัญหาไว้ สุขภาพคนไทย 2551 ดังนี้ หนึ่ง ลดจำนวนการตั้งท้องที่ไม่พร้อม โดยให้การศึกษาเรื่องเพศวิถีที่รอบด้านแก่เยาวชนทั้งผู้ชายและผู้หญิง ขยายกลุ่มเป้าหมายของบริการคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัวให้ครอบคลุมคนทุกวัย รวมทั้ง ผู้ที่ไม่ได้แต่งงานด้วย ทั้งนี้ เพราะปัญหาการตั้งท้องโดยไม่พร้อมของสังคมไทยนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากความไร้ประสิทธิภาพในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่ประชาชนทุกกลุ่มอายุ และการไม่สามารถให้บริการด้านการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง
         สอง ลดจำนวนคนที่บาดเจ็บและตายจากบริการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย โดยยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 301-305 เพราะสถิติจากกระทรวงสาธารณสุขชี้ว่า 50 ปีที่ผ่านมาของการมีกฎหมายห้ามทำแท้ง ไม่ได้ทำให้การลักลอบทำแท้งลดลง ยังคงมีผู้ป่วยด้วยภาวะแทรกซ้อนจากการทำแท้งผิดกฎหมายเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐปีละหลายหมื่นคน คิดเป็นค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยคนละ 20,000 บาท หรือไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาทต่อปี ยิ่งกว่านั้น งานวิจัยขององค์การอนามัยและสถาบันกัทแมเชอร์ (Guttmacher Institute) ยังระบุชัดเจนว่าประเทศยุโรปตะวันตกมีอัตราการทำแท้งต่ำที่สุด ทั้งๆ ที่การทำแท้งในประเทศเหล่านี้เป็นเรื่องถูกกฎหมายและมีเงื่อนไขน้อยมาก
         ส่วนประเทศที่การทำแท้งเป็นเรื่องถูกกฎหมายและมีบริการที่ได้มาตรฐานและทั่วถึง จะมีผู้บาดเจ็บจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยต่ำมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ประเทศแอฟริกาใต้และเนปาล โดยเมื่อแอฟริกาใต้แก้ไขกฎหมายให้การทำแท้งถูกกฎหมายเมื่อปี 2539 ตัวเลขผู้ป่วยจากการทำแท้งไม่ปลอดภัยในปี 2543 ลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปี 2538 ส่วนเนปาลซึ่งเคยมีตัวเลขผู้หญิงที่เสียชีวิตจากการทำแท้งไม่ปลอดภัยติดอันดับต้นๆ ของโลก ตัวเลขกลับลดลงอย่างมากหลังจากการแก้กฎหมายในปี 2545 และข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สภายุโรป ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกในยุโรป 47 ประเทศ รับรองข้อมติเมื่อ 16 เมษายน 2551ให้การทำแท้งเป็นสิ่งถูกกฎหมาย และสามารถทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม และต้องมีการจัดบริการทำแท้งที่ปลอดภัยให้ผู้หญิงเข้าถึงได้

         ข้อมูลที่นำเสนอมาทั้งหมดนี้ เพียงเพื่อต้องการให้สังคมหยุดคิดสักนิด ค้นคว้าข้อมูลสักหน่อย ก่อนออกมาตัดสินโยนความเลวให้กับผู้หญิงที่ไปทำแท้ง หรือประนามแพทย์ที่ให้บริการทำแท้งอย่างปลอดภัยและได้มาตรฐาน หากเจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังไม่เปิดใจรับข้อบังคับแพทยสภา ก็คงต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการจับกุมแพทย์ที่ให้บริการทำแท้งสามารถลดจำนวนการทำแท้งได้จริง หาไม่แล้ว สิ่งที่กระทำลงไปจะส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ตามมา นั่นคือ แพทย์ที่ยินยอมทำแท้งให้ผู้หญิงที่ประสบปัญหาจะลดน้อยลงหรืออาจไม่มีหลงเหลืออยู่เลย สถานการณ์เช่นนี้จะกดดันให้ผู้หญิงต้องหันไปพึ่งบริการหมอ

ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า




การตัดไม้ทำลายป่า
การตัดไม้ทำลายป่าคือสภาวะของป่าตามธรรมชาติที่ถูกทำลายโดยการตัดไม้และการเผาป่า
การตัดไม้ทำลายป่าเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภคภัณฑ์ ในระหว่างที่ทำการเลี้ยงสัตว์ เพาะปลูก และตั้งถิ่นฐาน บนพื้นที่ว่าง
การตัดไม้โดยไม่ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อที่อยู่อาศัย ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และปัญหาความแห้งแล้ง ซึ่งส่งผลเสียต่อการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโดยพืช บริเวณที่ป่าถูกทำลายโดยมากจะเกิดความเสียหายจากการพังทลายของหน้าดิน และพื้นที่มักจะด้อยคุณภาพลงจนกลายเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์มิได้
ปัจจัยบางประการที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในระดับมหภาคคือ ความไม่เอาใจใส่หรือความไม่รู้คุณค่าที่แท้จริง ขาดการให้คุณค่า การจัดการป่าไม้ที่ไม่เข้มงวด และกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่บกพร่อง ในหลายประเทศ การตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาต่อเนื่อง ซึ่งนำไปสู่การสูญพันธุ์ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การกลายสภาพเป็นทะเลทราย และการย้ายถิ่นฐานของคนพื้นเมือง ในกลุ่มประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อประชากรต่ำสุดที่ 4,600 ดอลลาร์สหรัฐฯ มีการจัดการไม่ให้อัตราสุทธิของการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มสูงขึ้น
สาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า
สาเหตุที่เป็นต้นกำเนิดของการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีมากมาย รวมถึงการทุจริตของหน่วยงานรัฐบาล การกระจายความมั่งคั่งและอำนาจอย่างไม่เสมอภาค การเพิ่มประชากรและมีประชากรมากเกินไป และการพัฒนาให้กลายเป็นเมือง บ่อยครั้งที่โลกาภิวัฒน์ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า แม้ว่าจะมีบางกรณีที่ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ (สิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดจากขบวนการแรงงาน เงินทุน โภคภัณฑ์ และมโนคติ) ช่วยส่งเสริมการฟื้นฟูป่าเฉพาะที่
ในปีพ.ศ. 2543 องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (เอเอฟโอ) พบว่าบทบาทของพลศาสตร์ประชากรในสภาพชุมชนท้องถิ่นอาจมีหลากรูปแบบตั้งแต่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจไปจนถึงไม่มีส่วนร่วมด้วยเลยและพบว่าการตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นผลมาจากการรวมกันของความกดดันทางประชากรและสภาวะเศรษฐกิจซบเซา สภาพทางสังคมและเทคโนโลยี
ตามรายงานของสำนักงานเลขานุการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สาเหตุทางตรงที่มีผลมากที่สุดคือการเกษตร การกสิกรรมเพื่อการดำรงชีพมีส่วนในการตัดไม้ทำลายป่าถึงร้อยละ 48 การเกษตรเพื่อการค้ามีส่วนร้อยละ 32 การตัดไม้มีส่วนร้อยละ 14 และการตัดไม้เพื่อทำฟืนมีส่วนร้อยละ 5
มีการสืบพบว่าแรงจูงใจทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้การแปลงสภาพป่าให้ผลประโยชน์มากกว่าการอนุรักษ์ป่า เป็นการทำลายระบบนิเวศวิทยาของป่าเช่นกัน หน้าที่สำคัญหลายอย่างของป่าไม่มีตลาดรองรับ ดังนั้นจึงไม่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนต่อผู้ครอบครองป่าหรือชุมชนที่พึ่งพิงป่าเพื่อสภาพความเป็นอยู่ที่ดีของตน
ในทัศนคติของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ผลประโยชน์จากป่า เช่น การกักเก็บคาร์บอน หรือการสงวนความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นไปเพื่อกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นอันดับแรก และการจ่ายค่าตอบแทนสำหรับผลประโยชน์เหล่านั้นยังไม่เพียงพอ ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนารู้สึกว่าบางประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ตัดไม้จากป่าในประเทศไปเมื่อหลายศตวรรษที่แล้วและได้รับผลประโยชน์มากมายจากการตัดไม้ทำลายป่า และนับว่าเป็นเรื่องที่คดโกงหากจะปฏิเสธไม่ให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาได้รับโอกาสเช่นเดียวกับที่ตนเคยได้ ที่น่าสงสารคือพวกเขาไม่ควรต้องออกค่าใช้จ่ายในการอนุรักษ์ หากคนรวยเป็นผู้ก่อปัญญานั้น
ผู้เชี่ยวชาญไม่เห็นด้วยว่าอุตสาหกรรมการตัดไม้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลก ในทำนองเดียวกัน ไม่มีมติที่เป็นเอกฉันท์ว่าปัญหาความยากจนเป็นส่วนสำคัญในการตัดไม้ทำลายป่า บางกลุ่มโต้แย้งว่า คนยากจนมีทีท่าว่าจะถางพื้นที่ป่ามากกว่าเพราะไม่มีทางเลือก กลุ่มอื่น ๆ โต้แย้งว่าคนจนไม่สามารถจ่ายค่าวัสดุและแรงงานที่จำเป็นในการถางป่า จากที่กล่าวอ้างว่ามีการโต้แย้งว่าการเพิ่มของประชากรเป็นแรงผลักดันให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า รายงานการศึกษาฉบับหนึ่งพบว่าการเพิ่มของประชากรจากอัตราการเกิดสูง เป็นแรงผลักดันอันดับแรกที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพียงร้อยละ 8 จากหลายสาเหตุ
นักวิจารณ์บางคนสังเกตเห็นการแปรเปลี่ยนของแรงผลักดันที่ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ส่วนมากการตัดไม้ทำลายป่าเกิดจากกิจกรรมเพื่อการดำรงชีพและโครงการเพื่อการพัฒนาที่รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน เช่น การย้ายถิ่นฐานในหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และประเทศที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นในละตินอเมริกา อินเดียและศรีลังกา ฯลฯ ในช่วงศตวรรษที่ 19 และช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ในช่วงทศวรรษที่ 1990 การตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านอุตสาหกรรม รวมถึงโรงงานสกัดวัตถุดิบ ฟาร์มปศุสัตว์ระดับมหภาค และการทำการเกษตรแบบดั้งเดิม
ทางด้านชั้นบรรยากาศ
การตัดไม้ทำลายป่ายังดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและกำลังมีอิทธิพลต่ออุณหภูมิและภูมิประเทศ การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนในภาวะโลกร้อนและบ่อยครั้งที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทวีความรุนแรงขึ้น
การตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนมีส่วนประมาณร้อยละ 20 ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนโลก ตามที่กล่าวโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) 1 ใน 3 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อน ทว่าการคำนวณเมื่อไม่นานมานี้เสนอแนะว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (ยกเว้นการปล่อยก๊าซในดินพรุ) มีส่วนร้อยละ 12 จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์ โดยมีขอบเขตอยู่ในร้อยละ 6-17
ต้นไม้และพืชอื่น ๆ แยกธาตุคาร์บอน (ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์) ออกจากชั้นบรรยากาศในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์แสงและจะปล่อยก๊าซออกซิเจนกลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศในระหว่างการหายใจตามปกติ ต้นไม้และผืนป่าสามารถแยกธาตุคาร์บอนออกจากชั้นบรรยากาศได้เฉพาะเวลาที่เจริญเติบโตอย่างคล่องตัว
ทั้งการเน่าเปื่อยและการเผาไหม้ของไม้ สามารถปล่อยธาตุคาร์บอนจำนวนมากที่เก็บสะสมไว้กลับคืนสู่ชั้นบรรยากาศ ในการนำธาตุคาร์บอนกลับคืนสู่ป่า ต้องเก็บเกี่ยวไม้และแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้การได้นาน และต้องปลูกต้นไม้ทดแทน การตัดไม้ทำลายป่าอาจทำให้เกิดการปลดปล่อยธาตุคาร์บอนที่สะสมอยู่ในดิน ผืนป่าเป็นที่กักเก็บธาตุคาร์บอนและสามารถเป็นได้ทั้งแหล่งกักเก็บและแหล่งทรัพยากร ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ผืนป่าที่เติบโตเต็มที่จะสลับสภาพระหว่างความเป็นแหล่งกักเก็บล้วน ๆ กับความเป็นแหล่งทรัพยากรล้วน ๆ ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนและความเสื่อมโทรมของป่า (REDD) ในประเทศกำลังพัฒนา มีขึ้นเพื่อเป็นแนวทางใหม่ ๆ ที่จะทำให้นโยบายที่กำลังใช้อยู่เกี่ยวกับสภาพอากาศนั้นสมบูรณ์ ความคิดนี้ประกอบด้วยการมอบค่าชดเชยเป็นเงิน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) จากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า
โดยมากเชื่อกันว่าป่าฝนมีส่วนสำคัญในการผลิตก๊าซออกซิเจนจำนวนมากให้กับโลก ทว่าในตอนนี้ได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์แล้วว่า ป่าฝนผลิตก๊าซออกซิเจนสุทธิได้น้อยให้แก่ชั้นบรรยากาศ และการตัดไม้ทำลายป่าจะไม่ส่งผลต่อระดับของก๊าซออกซิเจนในชั้นบรรยากาศ
อย่างไรก็ตามการเผาเถ้าถ่านและการเผาพืชในป่าเพื่อถางที่ดิน เป็นการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งมีส่วนให้เกิดภาวะโลกร้อน ผืนป่าสามารถสกัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมลพิษจากอากาศ ดังนั้นจึงถือว่ามีส่วนช่วยให้เกิดเสถียรภาพในชีวมณฑล
ทางด้านอุทกวิทยา
การตัดไม้ทำลายป่ามีผลต่อวัฏจักรของน้ำ ต้มไม้สกัดน้ำบาดาลผ่านทางรากและปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ เมื่อใดที่พื้นที่ป่าบางส่วนถูกทำลาย ต้นไม้จะไม่คายน้ำอีกต่อไป มีผลทำให้สภาพอากาศแห้งมากขึ้น การตัดไม้ทำลายป่าลดปริมาณของน้ำในดินและน้ำบาดาล เช่นเดียวกับความชื้นในชั้นบรรยากาศ การตัดไม้ทำลายป่าลดการเกาะตัวของดิน ทำให้เกิดผลที่ตามมาคือหน้าดินพังทลาย น้ำท่วม และดินถล่ม ผืนป่าช่วยเพิ่มพูนการดูดซึมน้ำในชั้นหินอุ้มน้ำในบางพื้นที่ แม้ว่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ ผืนป่าจะเป็นตัวการหลักของการสูญเสียน้ำในชั้นหินนี้
พื้นที่ป่าที่มีขนาดเล็กลงมีความสามารถน้อยลงในการดักจับ ดูดซับ และปลดปล่อยปริมาณน้ำฝน แทนที่สกัดกั้นปริมาณน้ำฝนซึ่งจะซึมผ่านไปยังระบบน้ำบาดาล พื้นที่ป่าที่ถูกทำลายจะเป็นตัวการให้เกิดน้ำผิวดิน ซึ่งจะเคลื่อนที่ได้ไวกว่าการไหลของน้ำบาดาล การเคลื่อนที่ที่เร็วกว่าของน้ำผิวดินอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและเกิดน้ำท่วมเฉพาะพื้นที่รุนแรงกว่าที่เกิดกับพื้นที่ที่มีผืนป่าปกคลุม
การตัดไม้ทำลายป่ามีส่วนในการลดอัตราการระเหยและการคายน้ำ ซึ่งทำให้ความชื้นในชั้นบรรยากาศน้อยลง ในบางกรณีส่งผลกระทบต่อระดับปริมาณน้ำฝน ตามทิศทางของลมที่พัดมาจากพื้นที่ที่ป่าถูกทำลาย เนื่องจากป่าที่อยู่ตามทิศทางของลมไม่ได้นำน้ำกลับมาหมุนเวียนเพื่อใช้ใหม่ แต่น้ำได้กลายสภาพไปเป็นน้ำผิวดินและไหลกลับไปยังมหาสมุทรโดยตรง จากผลการศึกษาหนึ่งในขั้นต้นพบว่า ในพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยในแต่ละปีลดลง 1 ใน 3 ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1980 ต้นไม้และพืชโดยทั่วไปส่งผลกระทบอย่างมากต่อวัฏจักรของน้ำ
o    ร่มไม้ช่วยดักจับปริมาณน้ำฝน ซึ่งจะระเหยกลับไปสู่ชั้นบรรยากาศ (การดักจับโดยร่มไม้)
o    เศษซากกิ่งก้านต้นไม้และลำต้นช่วยชะลอน้ำผิวดิน
o    รากต้นไม้สร้างช่องในดินขนาดใหญ่ซึ่งจะเพิ่มการแทรกซึมของน้ำ
o    ต้นไม้มีส่วนช่วยในการระเหยบนดินและลดความชื้นในดินผ่านการคายน้ำ
o    เศษซากและเศษตกค้างทางอินทรีย์เปลี่ยนคุณสมบัติของดินซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถของดินในการเก็บกักน้ำ
o    ใบของต้นไม้ควบคุมความชุ่มชื้นของชั้นบรรยากาศโดยการคายน้ำร้อยละ 99 ของน้ำที่รากดูดซึม เคลื่อนย้ายไปที่ใบและถูกคายที่นั่น
ดังนั้น การที่ต้นไม้มีน้ำหรือขาดน้ำ สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำบนผิวดิน ในดิน ใต้ดิน และในชั้นบรรยากาศ ซึ่งต่อมาสิ่งนี้จะเปลี่ยนอัตราการกัดเซาะและแหล่งน้ำที่หาได้สำหรับการทำงานของระบบนิเวศวิทยาและสำหรับประโยชน์ใช้สอยของมนุษย์
ป่าไม้อาจมีผลต่อปัญหาน้ำท่วมในกรณีที่เกิดจากฝนตกหนัก ซึ่งเกินศักยภาพในการเก็บกักน้ำของดินในป่า หากดินในป่าอยู่ในสภาพที่ใกล้จุดอิ่มตัว
ป่าฝนเมืองร้อนผลิตน้ำจืดประมาณร้อยละ 30 ให้กับโลก
ดิน
ป่าไม้ที่ยังไม่ถูกรุกราน มีอัตราการสูญเสียดินที่ต่ำ เพียงแค่ประมาณ 2 ตัน ต่อ ตารางกิโลเมตร โดยทั่วไปการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มอัตราการพังทลายของหน้าดิน โดยการเพิ่มประมาณของน้ำผิวดินและลดการป้องกันหน้าดินของเศษซากของต้นไม้ เรื่องนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับดินในป่าฝนเขตร้อนที่ถูกดูดซึมมากเกินไป ในการทำงานของกรมป่าไม้เองก็เพิ่มการพังทลายของหน้าดิน ผ่านการพัฒนาถนนและการใช้อุปกรณ์เครื่องกล
ที่ราบในประเทศจีนที่เกิดจากดินลมหอบ ถูกทำลายพื้นที่ป่าไปหลายพันปีแล้ว หลังจากนั้นก็เกิดการพังทลายของหน้าดิน เกิดเป็นหุบเขาที่มีรอยตัดเว้ามาก และทำให้เกิดตะกอนซึ่งทำให้แม่น้ำเหลืองมีสีเหลือง และทำให้เกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำที่อยู่ต่ำลงไป (ดังนั้นแม่น้ำนี้จึงมีชื่อว่าแม่น้ำวิปโยค”)
การตัดต้นไม้ไม่ได้เพิ่มอัตราการพังทลายของหน้าดินเสมอไป ในบางแถบทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ไม้พุ่มและต้นไม้รุกล้ำเข้าไปในทุ่งหญ้า ต้นไม้ทำให้สูญเสียหญ้าที่อยู่ระหว่างร่มไม้มากขึ้น บริเวณที่อยู่ระหว่างร่มไม้ที่โล่งเตียนนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่จะพังทลาย ตัวอย่างเช่นที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติแบนเดอเลียร์ กรมป่าไม้แห่งสหรัฐอเมริกา ศึกษาวิธีฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาก่อนหน้านี้ และลดการพังทลายของหน้าดินโดยการตัดต้นไม้
รากต้นไม้ยึดดินเข้าไว้ด้วยกัน และหากผืนดินอยู่ตื้นพอ ผืนดินจะยึดดินไว้ให้อยู่กับหินดานที่อยู่ใต้ลึกลงไป การตัดไม้บนพื้นที่ลาดชัด ซึ่งที่ผืนดินอยู่ตื้น จะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดดินถล่ม ซึ่งทำให้ผู้คนที่อาศัยอยู่โดยรอบตกอยู่ในอันตราย อย่างไรก็ตามการตัดไม้ทำลายป่าส่วนใหญ่มีผลกระทบแค่กับลำต้นของต้นไม้ หากยังปล่อยให้รากยึดติดอยู่กับดิน ก็แก้ไขปัญหาดินถล่มได้
ทางด้านนิเวศวิทยา
การตัดไม้ทำลายป่าส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพเสื่อมถอย การตัดและทำลายพื้นที่ที่ป่าไม้ปกคลุมทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม และทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ป่าไม้เกื้อหนุนความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า นอกเหนือจากนั้นป่าไม้ยังเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการอนุรักษ์พืชจำพวกยารักษาโรค ด้วยเหตุผลที่เขตชีวชาติในป่าเป็นแหล่งที่หาสิ่งอื่นมาทดแทนไม่ได้ของตัวยาแบบใหม่ ๆ (เช่น แท็กซอล) การตัดไม้ทำลายป่าอาจเป็นการทำลายความหลากหลายทางพันธุกรรม (เช่น ภูมิต้านทานของพืชผล) โดยไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้
เนื่องด้วยป่าฝนเขตร้อนเป็นระบบนิเวศวิทยาที่มีความหลากหลายมากที่สุดบนโลก และสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่โลกรู้จักประมาณร้อยละ 80 พบได้ในป่าฝนเขตร้อน การทำลายพื้นที่ป่าขนาดใหญ่จึงทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมลงและทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการการสูญพันธุ์ยังมีไม่เพียงพอต่อการคาดการณ์ให้แม่นยำถึงผลกระทบที่เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ผลการคาดการณ์เรื่องความเสียหายทางความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับวนศาสตร์ มาจากแบบจำลองอาณาบริเวณของประเภทสิ่งมีชีวิต ด้วยสมมุติฐานที่ว่าหากป่าไม้เสื่อมโทรมลง ความหลากหลายทางสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตก็เสื่อมลงเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แบบจำลองหลายแบบได้รับการพิสูจน์แล้วว่าผิดและไม่จำเป็นเสมอไปที่การสูญเสียแหล่งที่อยู่จะนำไปสู่การสูญเสียสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในระดับมหภาค เป็นที่รู้กันว่าแบบจำลองอาณาบริเวณของประเภทสิ่งมีชีวิต คาดการณ์เกินจริงเกี่ยวกับตัวเลขของสายพันธุ์ที่ตกอยู่ในอันตรายในอาณาบริเวณนั้น ๆ ที่ที่ยังมีการตัดไม้ทำลายป่าอยู่ ทั้งยังคาดการณ์เกินจริงไปมากเกี่ยวกับตัวเลขของสายพันธุ์ที่ตกอยู่ในอันตราย ซึ่งแพร่กระจายอยู่ทั่วไป มีการคาดคะเนว่าทุก ๆ วัน เราสูญเสียสายพันธุ์พืช สัตว์ และแมลง 137 สายพันธุ์ เนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่าฝน รวมแล้วเท่ากับ 50,000 สายพันธุ์ต่อปี อีกด้านหนึ่งกล่าวว่า การตัดไม้ทำลายป่าฝนเขตร้อนมีส่วนในการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ในยุคโฮโลซีนที่กำลังดำเนินอยู่
อัตราการสูญพันธุ์ที่เป็นที่รู้กันจากอัตราการตัดไม้ทำลายป่าอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก ในแต่ละปี มีเพียงประมาณ 1 สายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนก ซึ่งเป็นการคำนวณคร่าว ๆ จากประมาณ 23,000 สายพันธุ์ ต่อปีจากสายพันธุ์ทั้งหมด การคาดการณ์กล่าวว่ามากกว่าร้อยละ 40 ของสายพันธุ์สัตว์และพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะถูกกวาดล้างในศตวรรษที่ 21
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
รายงานที่สำคัญฉบับหนึ่งสรุปไว้ในงานประชุมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ณ กรุงบอนน์ ว่า ความเสียหายต่อป่าและต่อลักษณะอื่น ๆ ของธรรมชาติอาจลดมาตรฐานความเป็นอยู่ของคนจนบนโลกลงครึ่งหนึ่ง และลดผลผลิตมวลรวมประเทศลงประมาณร้อยละ 7 ภายในปีพ.ศ. 2593 ตามประวัติศาสตร์ การใช้ประโยชน์จากผลผลิตจากป่ารวมถึงการใช้ไม้ซุงและถ่านไม้ มีบทบาทสำคัญในการดำรงชีวิตของสังคมมนุษย์เทียบได้กับบทบาทของน้ำและพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกได้
ในวันนี้ ประเทศที่พัฒนาแล้วเริ่มใช้ประโยชน์จากไม้ซุงในการสร้างบ้าน และใช้เยื่อไม้ในการทำกระดาษ ในประเทศที่กำลังพัฒนา เกือบสามพันล้านคนใช้ไม้ในการให้ความร้อนและหุงหาอาหาร อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากป่าไม้เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและที่กำลังพัฒนา รายได้ของเศรษฐกิจในระยะสั้นมาจากการแปรรูปป่าให้กลายเป็นที่เพาะปลูก หรือการแสวงหาประโยชน์เกินควรจากผลิตภัณฑ์ไม้ ซึ่งโดยมากจะนำไปสู่การสูญเสียรายได้ในระยะยาว รวมถึงความสามารถในการผลิตทางชีววิทยาในระยะยาว (ดังนั้นจึงเป็นการลดผลประโยชน์ที่ได้จากธรรมชาติด้วย) ในแอฟริกาตะวันตก มาดากัสการ์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในภูมิภาคอื่น ๆ อีกหลายภูมิภาค ประสบปัญหารายได้ต่ำลง เนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวไม้ซุงได้น้อยลง ในแต่ละปี การตัดไม้ที่ผิดกฎหมายทำให้เศรษฐกิจของชาติสูญเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สาเหตุทางด้านประวัติศาสตร์
ในบางสังคม มีการตัดไม้ทำลายป่าในระดับจุลภาคมาหลายหมื่นปีก่อนจะเริ่มกำเนิดอารยธรรม หลักฐานชิ้นแรกของการตัดไม้ทำลายป่าปรากฏในยุคหิน ในตอนนั้นอาจเป็นการแปลงสภาพจากป่าแบบปิดให้กลายเป็นระบบนิเวศวิทยาที่เปิดกว้างมากขึ้นและเอื้ออำนวยต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ที่มนุษย์ล่า เมื่อมนุษย์เริ่มทำการเกษตร พื้นที่ป่าถูกทำลายมากขึ้น และไฟกลายเป็นเครื่องมือหลักในการถางพื้นที่สำหรับการเพาะปลูก
ในยุโรป พบหลักฐานชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่เชื่อถือได้ มีอายุก่อน 7,000 ปีก่อนคริสต์กาล นักหาอาหารในยุคหินใช้ไฟเพื่อเปิดช่องทางล่อกวางแดงและหมูป่า ในสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ต้นไม้สายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อร่มเงา เช่น ในบันทึกประวัติของละอองเรณูของต้นโอ๊กและต้นแอ็ช ถูกแทนที่โดยต้นเฮเซ็ล ไม้พุ่มมีหนาม หญ้า และไม้ป่าที่มีขนตามใบ การทำลายป่าทำให้การคายน้ำต่ำลง ผลคือเกิดป่าพรุในที่สูง
การลดลงของการแพร่กระจายของละอองเรณูต้นเอล์ม ที่แพร่ไปทั่วยุโรปในช่วงก่อน 8,400-8,300 ปีก่อนคริสต์กาล และก่อน 7,200-7,000 ปีก่อนคริสต์กาล เริ่มจากยุโรปทางตอนใต้เคลื่อนที่ไปทีละนิดไปยังตอนเหนือของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ แสดงให้เห็นถึงการถางพื้นที่โดยใช้ไฟในช่วงเริ่มการทำการเกษตรในยุคหินใหม่
ในยุคหินใหม่ พบการตัดไม้ทำลายป่าที่ขยายวงกว้างขึ้นเพื่อการทำกสิกรรม ประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์กาล ขวานหินที่ทำขึ้นไม่ได้ทำมาจากหินเหล็กไฟเท่านั้น แต่ทำจากหินแข็งได้หลายชนิดที่พบอยู่ทั่วไปในเกาะอังกฤษและในทวีปอเมริกาเหนือเช่นกัน ทั้งนี้ยังรวมถึงอุตสาหกรรมขวานแลงเดลที่มีชื่อเสียงในแถบอิงลิชเลค เหมืองแร่ที่ได้รับการพัฒนาในเมืองเพนแมนมาว์ ทางตอนเหนือของแคว้นเวลส์ และในที่อื่น ๆ อีกหลายที่
หินขัดหยาบผลิตขึ้นในท้องถิ่นใกล้ ๆ กับเหมืองแร่ และมีบางชิ้นที่ขัดจนเสร็จอย่างปราณีตในท้องถิ่นนั้น ขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่มความแข็งแกร่งเชิงกลไกให้กับขวาน แต่ยังทำให้รุกล้ำเข้าไปในป่าง่ายยิ่งขึ้น หินเหล็กไฟยังคงถูกนำมาใช้จากแหล่งของหินแร่ เช่น เหมืองกริมส์เกรฟส์ และอีกหลาย ๆ เหมืองทั่วยุโรป
หลักฐานของการตัดไม้ทำลายป่าพบในเกาะครีต ยุคไมนวน ตัวอย่างเช่น สภาพแวดล้อมของพระราชวังคนอสซอส ซึ่งพื้นที่ป่าถูกทำลายในยุคสำริด
ประวัติศาสตร์ก่อนยุคอุตสาหกรรม
ตลอดระยะเวลาส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ มนุษย์เป็นนักล่า นักสะสมของป่า ในพื้นที่ส่วนใหญ่เช่น ป่าอเมซอน บริเวณที่อยู่ในเขตร้อน อเมริกากลาง และหมู่เกาะแคริบเบียน เพียงแค่หลังจากเกิดความขาดแคลนไม้และผลิตผลจากป่า ก็มีนโยบายที่มีผลบังคับใช้เพื่อทำให้แน่ใจว่าการใช้ทรัพย์กรป่าไม้ในเป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืน
ในสมัยกรีกโบราณ มีการศึกษาในระดับภูมิภาค 3 ฉบับเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การพังทลายของหน้าดินและการทับถมของตะกอน พบว่าไม่ว่าที่ใดก็ตามที่มีหลักฐานมากพอ ก็จะพบการเกิดของการพังทลายของหน้าดิน ในช่วงประมาณ 500-1,000 ปีที่เริ่มมีการทำกสิกรรมในหลายภูมิภาคของกรีซ ผันแปรไปตั้งแต่ยุคหินใหม่ช่วงหลังไปจนถึงยุคสำริดตอนต้น
หลายพันปีหลังจากช่วงกลางยุคเงิน พบการพังทลายของหน้าดินที่รุนแรง แต่เกิดไม่ต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ในอดีตมีเชิงตะกอนเกาะอยู่ตามท่าเรือที่ตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งทางใต้ของคาบสมุทรเอเชียไมเนอร์ (เช่น เมืองคลารัส ตัวอย่างเมืองเอฟาซัส เมืองพริเอเน และเมืองมิเลตุส ที่ท่าเรือถูกทิ้งร้างเนื่องมาจากการทับถมของโคลนตะกอน) และทางชายฝั่งของประเทศซีเรียในช่วงศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสต์กาล
หมู่เกาะอีสเตอร์ประสบปัญหาดินพังทลายอย่างรุนแรงเมื่อศตวรรษที่ผ่านมานี้ ที่เลวร้ายลงเนื่องจากการทำการเกษตรและการตัดไม้ทำลายป่า แจเร็ด ไดมอน เขียนบันทึกไว้อย่างครอบคลุมถึงการพังทลายของหมู่เกาะอีสเตอร์โบราณในหนังสือของเขาเรื่อง การพังทลาย (Collapse) การสาบสูญไปของต้นไม้บนเกาะดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกับการล่มสลายของอารยธรรมในช่วงคริสศตวรรษที่ 17 และ 18 แจเร็ดให้เหตุผลเกี่ยวกับการล่มสลายว่าเป็นเพราะการตัดไม้ทำลายป่าและการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดมากเกินไป
โคลนอุดตันที่มีชื่อเสียงของท่าเรือเมืองบรูจ ซึ่งเคลื่อนย้ายการค้าบริเวณท่าเรือไปยังเมืองแอนท์เวิร์ป ก็เป็นไปตามช่วงเวลาของการเพิ่มขึ้นของตะกอนที่ทับถมเพิ่มขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำตอนบน (และเห็นได้ชัดว่าเป็นไปตามการตัดไม้ทำลายป่าที่เพิ่มขึ้นด้วย) ในช่วงต้นของยุคกลาง เมืองรีซที่อยู่ทางตอนบนของแคว้นโปรวองซ์ มีดินตะกอนที่น้ำพัดมาจากแม่น้ำเล็ก ๆ 2 สาย ดินตะกอนนี้ยกให้ก้นแม่น้ำสูงขึ้นและขยายพื้นที่ที่ราบน้ำท่วมถึง ซึ่งจะค่อย ๆ ฝังถิ่นฐานของชาวโรมันให้จมอยู่ในดินโคลนที่น้ำพัดมา และค่อย ๆ ย้ายสิ่งก่อสร้างใหม่ ๆ ให้อยู่บนที่ที่สูงขึ้น ในขณะเดียวกัน หุบเขาที่เป็นต้นน้ำเหนือเมืองรีซก็ถูกใช้เป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์
สิ่งที่ขัดขวางความเจริญที่พบเห็นตามปกติคือ สังคมเมืองมักจะสร้างขึ้นในพื้นที่ป่า ซึ่งมีไม้สำหรับการทำอุตสาหกรรม (เช่น การก่อสร้าง การสร้างเรือ การทำเครื่องปั้นดินเผา) เมื่อเกิดการตัดไม้ทำลายป่าโดยปราศจากการปลูกต้นไม้ที่เหมาะสมเพื่อทดแทน ทำให้หาทรัพยากรไม้ในท้องถิ่นให้เพียงพอต่อการดำรงการแข่งขันได้ยากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การละทิ้งถิ่นฐานตามที่เคยเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกในยุคโบราณของเอเชีย
ไมเนอร์ เนื่องด้วยความต้องการเชื้อเพลง การทำเหมืองแร่และการประกอบโลหกรรมมักจะนำไปสู่ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและการละทิ้งถิ่นฐานบ้านเมือง
ด้วยเหตุที่ประชากรส่วนใหญ่ยังคงกระตือรือร้นใน (หรือพูดอีกนัยหนึ่งได้ว่า ยังต้องพึ่งพา) การทำการเกษตร แรงบีบคั้นหลัก ๆ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการถางพื้นที่เพื่อการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์ โดยยังมีพื้นที่ที่มีหญ้าปกคลุมเหลืออยู่เสมอ (และบางส่วนถูกใช้ เช่นในการสะสมฟืน ไม้ซุง และผลไม้ หรือเพื่อเลี้ยงสุกร) เพื่อให้สัตว์ป่ายังดำรงชีวิตอยู่ การคุ้มครองสิทธิประโยชน์ส่วนตนในการล่าสัตว์ของกลุ่มอภิชน (ชนชั้นสูงหรือกลุ่มนักบวช) มักจะเป็นการป้องกันป่าไม้ที่สำคัญ
ส่วนสำคัญในการกระจายตัวของประชากร (และอัตราการเพิ่มประชากรที่มั่นคงขึ้น) เกิดขึ้นจากการบุกเบิกของพวกนักบวช (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะเบเนดิกติน และคณะเพื่อการค้า) และพวกเจ้าศักดินาบางคน ซึ่งเกณฑ์ชาวนามาตั้งถิ่นฐาน (และกลายเป็นผู้จ่ายภาษี) โดยเสนอเงื่อนไขทางกฎหมายและการเสียภาษีที่ค่อนข้างดี แม้บางครั้งจะมีนักเก็งกำไรหวังจะกระตุ้นแรงจูงใจภายในเมือง ชาวเมืองก็มุ่งมั่นทำการเกษตรหรือบางครั้งก็ทำแม้แต่ในกำแพงปราการของเมือง
เมื่อจำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็วเพราะโรคกาฬโรคและการทำสงครามทำลายล้าง (เช่น กองทัพมองโกลของเจงกิสข่านที่บุกยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง และสงครามสามสิบปีในเยอรมนี) เหตุนี้ทำให้เกิดการละทิ้งถิ่นฐาน ที่ดินกลับคืนสู่ธรรมชาติ แต่ป่าไม้ที่เกิดขึ้นก็ขาดความหลากหลายทางชีวภาพแบบที่เคยมีมาก่อน
ตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1100 ถึง 1500 การตัดไม้ทำลายป่าครั้งใหญ่เกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก อันเนื่องมาจากการขยายตัวของประชากร การสร้างเรือกำปั่นจำนวนมากจากไม้ ในดินแดนยุโรปที่เป็นเจ้าสมุทร (หรือชายฝั่ง) ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เพื่อออกสำรวจ เพื่อหาอาณานิคม เพื่อการค้าทาส และเพื่อการค้าในท้องทะเล กิจกรรมเหล่านี้ใช้ทรัพยากรป่าไม้จำนวนมาก การปล้นสะดมในน่านน้ำก็มีส่วนทำให้เกิดการแสวงหาทรัพยากรป่าไม้มากเกินไป เช่นในสเปน ปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่ภาวะถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศหลังจากที่โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาแล้ว และเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนมาขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในดินแดนอาณานิคม (การปล้นสะดม การทำเหมืองแร่ การเลี้ยงปศุสัตว์ การปลูกพืข การค้า ฯลฯ)
ในหนังสือ Changes in the Land (ความเปลี่ยนแปลงของดินแดน) (พ.ศ. 2526) วิลเลียม โครนอนได้วิเคราะห์และบันทึกรายงานของเจ้าอาณานิคมอังกฤษในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 เกี่ยวกับอุทกภัยตามฤดูกาลที่เพิ่มมากขึ้นในรัฐนิวอิงแลนด์ ช่วงที่ผู้ที่จะมาตั้งถิ่นฐานใหม่เริ่มถางพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตร พวกเขาเชื่อว่าปัญหาน้ำท่วมนั้นเกี่ยวกับถางพื้นที่ป่าต้นน้ำกันอย่างแพร่หลาย
การใช้ถ่านหินเป็นจำนวนมหาศาลในอัตราส่วนของการทำอุตสาหกรรมในยุโรปช่วงต้นยุคใหม่ เป็นวิธีใหม่ในการผลาญป่าของโลกตะวันตก แม้แต่ในสมัยราชวงศ์สจวตของอังกฤษ การผลิตถ่านหินที่ค่อนข้างจะดั้งเดิมมากขึ้นจนถึงระดับที่รุนแรงแล้ว ในสมัยนั้นการตัดไม้ทำลายป่าขยายตัวไปทั่วเพราะต้องใช้ซุงในการสร้างเรือเพื่อทำการค้าในทะเลบอลติก และต้องมองหาป่าไม้ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในรัฐนิวอิงแลนด์เพื่อตอบสนองความจำเป็น เรือรบหลวงเนลสันแต่ละลำที่อยู่ที่เมืองทราฟัลการ์ (พ.ศ. 2348) ต้องการไม้โอ๊กที่โตเต็มวัยถึง 6,000 ต้นในการสร้าง ในฝรั่งเศส โคลเบิร์ต ปลูกป่าไม้โอ๊กเพื่อใช้เป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับกองทัพเรือฝรั่งเศสในอนาคต เมื่อป่าไม้โอ๊กโตเต็มวัยในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 การเดินเรือเปลี่ยนแปลงไป และไม่มีความจำเป็นต้องใช้เสากระโดงเรือแล้ว
ชาวยุโรปอาศัยอยู่ท่ามกลางป่าไม้ที่กว้างใหญ่ไพศาลตลอดช่วงต้นยุคกลาง หลังจากปี 1250 ชาวยุโรปถนัดในการตัดไม้ทำลายป่า จนพอมาถึงปี 1500 ทรัพยากรไม้สำหรับทำความร้อนและทำอาหารเริ่มขาดแคลน พวกเขาประสบปัญหาการขาดสารอาหารเนื่องมาจากสัตว์ป่าทั่วไปล้มตายเพราะอยู่อาศัยในป่าไม้ที่ตอนนั้นถูกทำลายไปแล้วไม่ได้ ซึ่งตลอดช่วงยุคกลางอาหารหลักของพวกเขาเป็นจำพวกโปรตีนปริมาณมากจากเนื้อสัตว์ ในปี 1500 ยุโรปอยู่ในช่วงหายนะเพราะขาดเชื้อเพลิงและอาหาร แต่ปัญหาก็ได้รับการแก้ไขในศตวรรษที่ 16 โดยการเผาถ่านหินแบบนิ่มใช้และการเพาะปลูกมันฝรั่งและข้าวโพด
ยุคอุตสาหกรรม
ในช่วงศตวรรษที่ 19 การเริ่มใช้เรือไอน้ำในสหรัฐอเมริกาเป็นสาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่าบริเวณแนวตลิ่งของแม่น้ำสำคัญ ๆ เช่น แม่น้ำมิสซิสซิปปี ตามมาด้วยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมคืออุทกภัยที่เพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้น ลูกเรือของเรือไอน้ำตัดต้นไม้ทุกวันบริเวณริมตลิ่งแม่น้ำเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ไอน้ำ ระหว่างแม่น้ำเซนต์หลุยส์และที่ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำไอดาโฮทางตอนใต้ แม่น้ำมิสซิสซิปปีกว้างขึ้นและตื้นขึ้น และร่องน้ำก็เปลี่ยนไปทางด้านข้าง
ความพยายามในการปรับปรุงการเดินเรือโดยการใช้แท่งดึงต่อไม้ ทำให้ลูกเรือต้องตัดต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ 100-200 ฟุตจากริมตลิ่ง เมืองอาณานิคมของฝรั่งเศสบางเมืองในรัฐอิลลินอยส์ เช่นเมืองคัสคัสเกีย คาโอเกีย และเซนต์ฟิลลิป ถูกน้ำท่วมและถูกละทิ้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พร้อมกับสูญเสียบันทึกทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับโบราณคดีวิทยา
เหตุการณ์เฉพาะที่เกิดคล้ายกัน เห็นได้จากการตัดไม้ทำลายป่าในศตวรรษที่ 20 ที่เกิดขึ้นในประเทศที่กำลังพัฒนาหลาย ๆ ประเทศ
อัตราการตัดไม้ทำลายป่า
การตัดไม้ทำลายป่าในโลกเพิ่มขึ้นมากในช่วงปีพ.ศ. 2395 คาดการณ์ว่า ครึ่งหนึ่งของป่าเมืองร้อนบนโลกที่โตเต็มวัยที่มีขนาดระหว่าง 7.5-8 ตารางกิโลเมตร และป่าไม้ขนาด 15-16 ตารากิโลเมตรที่ปกคลุมโลกมาจนถึงปี 2490 ถูกถางไปแล้วในตอนนี้ นักวิทยาศาสตร์บางคนทำนายว่าหากไม่มีการตรวจวัดพื้นที่ป่าในระดับโลก (เช่นการค้นหาหรือปกป้องป่าไม้เก่าแก่ที่เติบโตแล้วและยังไม่ถูกรบกวน) ภายในปี 2573 จะมีป่าไม้เหลือเพียงแค่ร้อยละ 10 และอีกร้อยละ 10 อยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ร้อยละ 80 จะสูญหายไปพร้อมกับสิ่งมีชีวิตอีกหลายหมื่นชนิดที่ไม่สามารถหามาทดแทนได้
อุปสรรคในการคาดการณ์อัตราการตัดไม้ทำลายป่า ไม่มีสิ่งใดเกินไปกว่าการคาดการณ์ที่มีความหลากหลายกว้างมากของอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในเขตป่าฝน กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบางกลุ่มโต้แย้งว่า 1 ใน 5 ของป่าฝนเมืองร้อนทั้งหมดบนโลกถูกทำลายในช่วงปีพ.ศ. 2503-2533 ป่าฝนเมื่อ 50 ปีก่อนครอบคลุมพื้นผิวของโลกถึงร้อยละ 14 และลดลงร้อยละ 6 ป่าเขตร้อนทั้งหมดจะหายไปภายในปีพ.ศ. 2633
ในระหว่างนั้น อลัน เกรนเจอร์ จากมหาวิทยาลัยลีดส์ โต้แย้งว่าไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ ว่าจะมีความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าฝนในระยะยาว บยอร์น ลอมบอร์ก ผู้เขียนหนังสือเรื่อง The Sceptical Environmentalist (นักสิ่งแวดล้อมช่างสงสัย) อ้างว่าพื้นที่ป่าปกคลุมทั่วโลกมีจำนวนคงที่ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ในทำนองเดียวกัน บางคนอ้างว่าพื้นที่ป่าฝนทุกเอเคอร์ถูกตัดลงทุกปี พื้นที่ป่าที่ขึ้นใหม่ที่เจริญเติบโตในเขตร้อนมีมากกว่า 50 เอเคอร์ (20 เฮกตาร์)
มุมมองที่ไม่ตรงกันเหล่านี้เป็นผลมาจากความไม่แน่นอนของขอบเขตการตัดไม้ทำลายป่าในป่าเมืองร้อน ในประเทศเขตร้อนการคาดคะเนการตัดไม้ทำลายป่ายังไม่แน่นอนและอาจมีข้อผิดพลาดได้มากถึงบวก/ลบไม่เกินร้อยละ 50 ในช่วงปีพ.ศ. 2545 การวิเคราะห์จากภาพถ่ายจากดาวเทียม แนะว่าอัตราการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนชื้น (เนื้อที่ประมาณ 5.8 ล้านเฮกตาร์ต่อปี) ต่ำลงพอสังเขปร้อยละ 23 ซึ่งต่ำกว่าอัตราที่ใช้อ้างอิงโดยทั่วไปมากที่สุด ในทางกลับกันผลการวิเคราะห์ชิ้นใหม่จากภาพถ่ายจากดาวเทียมเผยให้เห็นว่าการตัดไม้ทำลายป่าฝนอเมซอนเกิดขึ้นเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดการณ์ไว้ 2 เท่า
มูลนิธิป่าฝนประจำกรุงลอนดอน สังเกตว่าตัวเลขที่องค์การสหประชาชาติมี อยู่บนพื้นฐานของการกำหนดว่าพื้นที่ป่ามีบริเวณที่มีต้นไม้ปกคลุมน้อยเพียง 10% ซึ่งอาจรวมถึงพื้นที่ที่มีลักษณะระบบนิเวศวิทยาคล้ายทุ่งหญ้าสะวันนาและเป็นป่าที่เสียหายอย่างรุนแรงคำวิจารณ์อื่น ๆ จากข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติชี้ให้เห็นว่าพวกเขาไม่แยกความแตกต่างระหว่างประเภทของป่า และข้อมูลอ้างอิงเป็นส่วนใหญ่จากรายงานของกรมป่าไม้ในแต่ละประเทศ ซึ่งไม่บรรจุข้อมูลที่ไม่เป็นทางการอย่างการตัดไม้อย่างผิดกฎหมาย
นอกจากความไม่แน่นอนเหล่านี้แล้ว มีข้อตกลงว่าการทำลายป่าฝนยังคงเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ป่าฝนบริเวณชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตกหายไปมากถึงร้อยละ 90 ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2443 ในเอเชียใต้ ป่าฝนประมาณร้อยละ 88 สูญหายไป ป่าฝนส่วนมากที่ยังเหลือบนโลกนี้คือที่อยู่ในลุ่มน้ำอเมซอน ซึ่งป่าฝนอเมซอนครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 ล้านตารางกิโลเมตร ภูมิภาคที่มีอัตราการทำลายป่าเมืองร้อนมากที่สุดในช่วงปีพ.ศ. 2543 – 2548 คือทวีปอเมริกากลาง (สูญเสียพื้นที่ป่าร้อยละ 1.3 ในแต่ละปี) และทวีปเอเชียในเขตร้อน
ในทวีปอเมริกากลาง 2 ใน 3 ของพื้นที่ป่าเขตร้อนในที่ราบลุ่มกลายเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ตั้งปีพ.ศ. 2493 และร้อยละ 40 ของป่าฝนทั้งหมดสูญหายไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว บราซิลสูญเสียพื้นที่ป่ามาตาแอตแลนติกาไปร้อยละ 90-95 มาดากัสการ์สูญเสียป่าฝนทางด้านตะวันออกร้อยละ 90 ในขณะที่ปีพ.ศ. 2550 ป่าไม้ของเฮติเหลือน้อยกว่าร้อยละ 1 ประเทศเม็กซิโก อินเดีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ไทย พม่า มาเลเซีย บังคลาเทศ จีน ศรีลังกา ลาว ไนจีเรีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ไลบีเรีย กินี กานา และโคตดิวัวร์ สูญเสียพื้นที่ป่าฝนขนาดใหญ่ บางประเทศ ที่เด่นชัดคือบราซิล ประกาศว่าปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าเป็นปัญหาฉุกเฉินของชาติ
การควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า
การลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (Reducing Emissions from การตัดไม้ทำลายป่า and Forest Degradation - REDD)
องค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ รวมถึงองค์กรสหประชาชาติและธนาคารโลก ได้เริ่มพัฒนาโครงการที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า ขอบเขตของงานที่ครอบคลุมเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า (REDD) ช่วยอธิบายประเภทของโครงการ ซึ่งใช้เงินโดยตรงหรือใช้สิ่งจูงใจอื่นเพื่อกระตุ้นให้ประเทศกำลังพัฒนาจำกัดหรือลดปริมาณการตัดไม้ทำลายป่า
การทำไร่นา
มีการพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อให้ทำกสิกรรมได้อย่างปราณีตขึ้น เช่น การปลูกผลผลิตลูกผสมที่ให้ผลผลิตสูง การทำเรือนกระจก การทำสวนที่เป็นส่วนประกอบของอาคารอิสระ และการปลูกผักในน้ำ แนวทางเหล่านี้มักจะต้องพึ่งความช่วยเหลือจากสารเคมีเพื่อรักษาระดับการให้ผลผลิตในจำนวนที่ต้องการ การทำการเกษตรแบบหมุนเวียนช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน การทำการเกษตรอย่างปราณีตอาจลดสารอาหารที่อยู่ในดินโดยการใช้แร่ธาตุจำนวนเล็กน้อยในอัตราเร่ง ซึ่งต้องใช้ในการทำให้ผลผลิตเติบโต
การจัดการป่าไม้
ความพยายามที่จะหยุดหรือชะลอการตัดไม้ทำลายป่ามีมาหลายศตวรรษเพราะรู้กันมานานแล้วว่าการตัดไม้ทำลายป่าทำให้เกิดความเสียหายทางธรรมชาติ ในบางกรณีก็มากพอที่จะทำให้สังคมมนุษย์ล่มสลายไป ในตองกา ผู้ปกครองชั้นสูงสุดออกนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างรายได้ระยะสั้นจากการแปรสภาพป่าให้เป็นพื้นที่เพาะปลูก กับปัญหาการสูญเสียป่าไม้ระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้น ในระหว่างที่เมืองโทกุงะวะ ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 โชกุนได้พัฒนาระบบที่มีความซับซ้อนสูงในการวางแผนระยะยาวเพื่อหยุดและพลิกผันสภาพการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดในศตวรรษที่ผ่านมา ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แทนการใช้ไม้ซุง และการใช้ที่ดินที่เคยทำการเกษตรมาหลายศตวรรษให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในช่วงศตวรรษที่ 16 เจ้าของที่ดินในเยอรมนีพัฒนาแผนวนวัฒนาวิทยาเพื่อรับมือกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านั้นมักจะมีขีดจำกัดทางด้านสิ่งแวดล้อมคือต้องมีฝนตกเพียงพอ ฤดูกาลไม่แห้งแล้ง และดินต้องใหม่มาก (เกิดจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟหรือการเปลี่ยนสภาพของธารน้ำแข็ง) เพราะหากใช้ดินที่แก่และมีความอุดมสมบูรณ์น้อย ต้นไม้จะเติบโตช้าเกินไป เกินกว่าที่จะเพาะปลูกแบบวนวัฒนาวิทยาได้อย่างประหยัด ในขณะที่บริเวณที่มีฤดูแล้งมาก ๆ จะมีความเสี่ยงอยู่เสมอที่ไฟป่าจะทำลายผลิตผลจากต้นไม้ก่อนที่จะเติบโตเต็มวัย
ในพื้นที่ที่มีการตัดและเผาป่า หากเปลี่ยนเป็นการตัดและเผาให้เป็นถ่าน จะช่วยป้องกันปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าที่เกิดขึ้นอย่างฉับไวและปัญหาความเสื่อมโทรมของดินซึ่งตามมาภายหลัง ถ่านชีวภาพจึงเกิดขึ้น
และส่งกลับลงไปสู่ดิน ซึ่งวิธีนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นวิธีที่มีเสถียรภาพในการแยกธาตุคาร์บอน แต่ยังเป็นการพัฒนาผืนดินที่มีประโยชน์อย่างมากอีกด้วย เมื่อผสมกับมวลชีวภาพในดินจะทำให้เกิดดินดำเทอรา พรีต้า หนึ่งในชนิดของดินที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก และเป็นชนิดเดียวที่รู้กันว่าสามารถฟื้นฟูตัวเองได้
การฟื้นฟูสภาพป่า
ในหลาย ๆ พื้นที่บนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การฟื้นฟูสภาพป่าและการปลูกป่าเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า จำนวนของป่าไม้เพิ่มขึ้นใน 22 ประเทศจาก 50 ประเทศที่มีพื้นที่ป่าเยอะที่สุดในโลก ในช่วงปีพ.ศ. 2543-2548 เอเชียมีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้นทั้งหมด 1 ล้านเฮกตาร์ ป่าเขตร้อนในเอลซัลวาดอร์ขยายพื้นที่มากกว่าร้อยละ 20 ในช่วงปีพ.ศ. 2535-2544 และเนื่องจากกระแสดังกล่าวนี้ มีการศึกษานำเสนอว่า ป่าไม้ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 (เป็นพื้นที่ที่มีขนาดเท่าประเทศอินเดีย) ในปีพ.ศ. 2593 ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีการทำลายป่าในระดับมหภาค ในอดีตรัฐบาลกำหนดว่า พลเมืองทุกคนที่มีสุขภาพดี อายุตั้งแต่ 11-60 ปี ต้องปลูกต้นไม้ปีละ 3-5 ต้น หรือไม่ก็ช่วยเหลืองานทางด้านป่าไม้ในปริมาณเทียบเท่า รัฐบาลอ้างว่าอย่างน้อยจะปลูกต้นไม้ได้ 1 พันล้านต้นในประเทศจีนทุก ๆ ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525 ทุกวันนี้ไม่ต้องมีข้อกำหนดนี้แล้ว ทว่าทุกวันที่ 12 มีนาคม ของทุกปี คือวันปลูกต้นไม้ของประเทศจีน นอกจากนั้นยังเป็นการแนะนำโครงการกำแพงสีเขียวของประเทศจีน ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะหยุดยั้งการขยายตัวของทะเลทรายโกบีด้วยการปลูกต้นไม้
อย่างไรก็ตาม ต้นไม้จำนวนมากเหี่ยวเฉาตายหลังจากที่ปลูก (มากถึงร้อยละ 75) โครงการนี้จึงไม่ประสบความสำเร็จนัก พื้นที่ป่าในประเทศจีนเพิ่มขึ้น 47 ล้านเฮกตาร์ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 จำนวนทั้งหมดของต้นไม้รวมทั้งสิ้นประมาณ 35,000 ล้านต้นและพื้นที่ที่มีป่าปกคลุมของแผ่นดินจีนทั้งหมดเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.55 เมื่อ 20 ปีที่แล้วพื้นที่ที่มีป่าปกคลุมมีเพียงร้อยละ 12 แต่ตอนนี้มีร้อยละ 16.55
ในประเทศทางตะวันตก การเพิ่มขึ้นของความต้องการของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์จากไม้ ซึ่งผลิตและเก็บเกี่ยวมาจากวิธีการแบบยั่งยืนทำให้เจ้าของที่ดินในป่าและอุตสาหกรรมป่าไม้ต้องรับผิดชอบมากขึ้นเกี่ยวกับการจัดการป่าไม้และการตัดไม้เพื่อทำซุง
โครงการเพื่อช่วยเหลือป่าฝนของมูลนิธิอาร์เบอร์เดย์ เป็นมูลนิธิการกุศลที่ช่วยป้องกันปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า มูลนิธิใช้เงินบริจาคกว้านซื้อและอนุรักษ์พื้นที่ป่าฝนก่อนที่บริษัทค้าซุงจะซื้อ มูลนิธิอาร์เบอร์เดย์ปกป้องผืนดินจากการตัดไม้ทำลายป่า ทั้งยังเป็นการล้อมกรอบวิถีชีวิตที่เป็นแบบดั้งเดิม ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่า องค์กรดังเช่น สำนักงานป่าไม้สากล องค์กรคูลเอิร์ท กลุ่มนักนิยมธรรมชาติ กองทุนระดับโลกเพื่อธรรมชาติ กลุ่มอนุรักษ์สากล มูลนิธิเพื่อการอนุรักษ์ในแอฟริกา และกลุ่มกรีนพีซมุ่งเน้นในการปกป้องแหล่งที่อยู่อาศัยในป่าเช่นกัน
กลุ่มกรีนพีซมีภารกิจเฉพาะคือแสดงรายละเอียดของป่าไม้ที่ยังไม่ได้รับความเสียหายลงบนแผนที่และลงข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ฮาวสตัฟเวิร์ค (HowStuffWorks) ทำแผนที่คร่าว ๆ แบ่งเป็นหัวข้อ เพื่อแสดงให้เห็นจำนวนป่าไม้ที่มีอยู่ก่อนยุคที่มนุษย์ถือกำเนิด (8,000 ปีมาแล้ว) และระดับของป่าในปัจจุบัน (ที่มีจำนวนลดลงแล้ว) แผนที่เหล่านี้ทำเครื่องหมายบอกจำนวนการฟื้นฟูสภาพป่าที่ต้องการการซ่อมแซมความเสียหายที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง
การปลูกป่า
เพื่อให้มีไม้พอกับความต้องการของโลก จึงมีคำแนะนำว่าการปลูกป่าที่ให้ผลผลิตสูงเป็นเรื่องเหมาะสม คำนวณแล้วว่าการปลูกป่าที่ให้ผลผลิตเพียง 10 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ต่อปี (เป็นค่า MAI ที่ต่ำมาก) สามารถให้ทรัพยากรไม้ซุงที่จำเป็นต่อการค้าสากลโดยอาศัยเพียงร้อยละ 5 ของพื้นที่ป่าที่มีอยู่บนโลก ในทางกลับกัน ป่าตามธรรมชาติผลิตไม้ได้เพียง 1-2 ลูกบาศก์เมตรต่อเฮกตาร์ ดังนั้นต้องอาศัยพื้นที่ป่ามากขึ้น 5-10 เท่า จึงจะผลิตได้พอที่จะตอบสนองความต้องการไม้ แชด โอลิเวอร์ เจ้าหน้าที่ป่าไม้เสนอให้ปลูกป่าที่ให้ผลผลิตสูงเป็นแบบโมเสกในพื้นที่กระจายสลับกันอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน งานวิเคราะห์ข้อมูลชิ้นหนึ่งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติแนะว่าโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์พื้นที่ป่าทั่วโลกลดลงได้ ภายใน 30 ปี

การฟื้นฟูสภาพป่าด้วยการปลูกต้นไม้สามารถอาศัยประโยชน์จากรูปแบบการตกของฝนที่เปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถทำได้ด้วยการศึกษาว่ามีที่ใดที่คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นและเริ่มโครงการฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่เหล่านั้น พื้นที่เช่น ประเทศไนเจอร์ เซียร์ราลีโอน และไลบิเรีย เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในลำดับต้น ๆ เพราะประเทศเหล่านี้เดือดร้อนจากพื้นที่ทะเลทรายที่กำลังขยายตัว (ทะเลทรายซาฮารา) และความหลากหลายทางชีวภาพที่กำลังลดลง (ซึ่งประเทศเหล่านี้กำลังเป็นแหล่งสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ)